UbinurSS สนับสนุนการพยาบาลด้วยข้อมูลด้านสุขภาพ

“ระบบสนับสนุนการพยาบาลทุกแห่งหน” หรือ “UbiNurSS (A Ubiquitous Nursing Support System)” ได้รับทุนสนับสนุนพัฒนาต่อยอดผลงานจากโครงการ “ต่อกล้าให้เติบใหญ่” รุ่นที่ 3 โดยนักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้แก่ พรหมเรศ ชมะนันทน์ (มะเหมี่ยว), วสุ ลีลาเลิศพานิชย์ (เติ้ล), วสันต์ ลีลาเลิศพานิชย์ (เต้ย) และกฤษฎิ์ ศรีขวัญใจ (กฤษฎิ์) ที่ต้องการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงวัย ในการช่วยลดความเสี่ยงและการสูญเสีย

พรหมเรศ ชมะนันทน์ (มะเหมี่ยว), วสุ ลีลาเลิศพานิชย์ (เติ้ล), วสันต์ ลีลาเลิศพานิชย์ (เต้ย) และกฤษฎิ์ ศรีขวัญใจ (กฤษฎิ์)

พรหมเรศ ชมะนันทน์ (มะเหมี่ยว), วสุ ลีลาเลิศพานิชย์ (เติ้ล), วสันต์ ลีลาเลิศพานิชย์ (เต้ย) และกฤษฎิ์ ศรีขวัญใจ (กฤษฎิ์)

ลดภาระบุคลากร ทางการแพทย์
จุดเริ่มต้นในการสร้างผลงานชิ้นนี้เกิดจากการชักชวนของอาจารย์เพื่อส่งเข้าประกวดในรายการ National Software Contest (NSC) โดยมองจากเรื่องราวรอบตัว ซึ่งพบผลการวิจัยว่า สังคมไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงวัยในปี 2570 ด้วยอัตราเฉลี่ยของอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพมากที่สุด จากพฤติกรรมการดูแลตัวเองในช่วงอายุที่ผ่านมา รวมถึงโรคต่างๆ ที่มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ อาทิ ความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ โดยอาการของโรคเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ ทำให้ต้องมีการเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลา แต่ด้วยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีจำกัดและการหาคนมาดูแลผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องง่าย การที่มีอุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวกรูปแบบนี้เข้ามาช่วยเหลือน่าจะเป็นการช่วยลดภาระของบุคคลากรทางการแพทย์ได้

สำหรับผลงาน UbiNurSS เป็นชุดอุปกรณ์ตรวจวัดค่าอัตราการเต้นของหัวใจ และค่าความ ดันโลหิต สำหรับผู้มีภาวะเสี่ยงและประชาชนทั่วไปที่ใส่ใจสุขภาพ เพื่อเป็นการลดภาระหน้าที่ของพยาบาลหรือผู้ดูแล ในการติดตามและเฝ้าระวัง โดยในช่วงการศึกษาข้อมูลและพัฒนาอุปกรณ์อยู่ภายใต้การดูแลของทีมอาจารย์ที่ปรึกษา ดร.อิทธิพงษ์ เขมะเพชร, ดร.มานะชัย โต๊ะชูดี และดร.วัศวี แสนศรีมหาชัย

น้องๆ ในทีมพูดถึงการสร้างสรรค์ผลงานว่า “สิ่งที่ยากในช่วงเริ่มต้นคือ การศึกษาภาษาที่ใช้งาน เพราะเป็นภาษาใหม่ที่ไม่เคยเรียนมาก่อน พอถัดมาก็เป็นเรื่องของเทคนิคการแพทย์ซึ่งมันยากสำหรับเรา เพราะว่าเราก็ไม่ได้เรียนมาทางด้านนี้โดยตรง มีการสำรวจกับทางโรงพยาบาลต่างๆ สอบถามเพื่อนที่เรียนด้านพยาบาล เพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาให้งานชิ้นนี้ออกมาตรงตามความต้องการ และเป็นประโยชน์กับผู้ที่ใช้งานจริงๆ”

e203

ฉบับที่ 203 เดือนพฤศจิกายน

FinTech อนาคตโลกการเงิน

ใช้งานง่ายด้วยอุปกรณ์แบบไร้สาย
โดยชุดอุปกรณ์เลือกใช้วัสดุที่มีในท้องตลาดแบบไร้สาย ประกอบด้วยอุปกรณ์สวมใส่สำหรับผู้ใช้งาน Miofuse หรือ Miolink อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจ Withings Blood Pressure อุปกรณ์วัดความดัน และ Raspberrypi2 คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในการช่วยประมวลผลก่อนส่งเข้าเซิร์ฟเวอร์

วิธีการใช้งานแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ทางด้านผู้ใช้งานจะสวมใส่อุปกรณ์ Miofuse หรือ Miolink เพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจ และจะทำการส่งข้อมูลไปยัง Raspberry Pi2 ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกับผู้ใช้งานเพื่อวิเคราะห์อาการปัจจุบัน โดยอ้างอิงอัตราสูงสุดต่ำสุดจากข้อมูลของแพทย์ แบ่งเป็น 3 สถานะคือ สีเขียวปกติ สีเหลืองเฝ้าระวัง และสีแดงอันตราย ซึ่งการวิเคราะห์นี้จะตั้งค่าตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อเป็นพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง และอุปกรณ์นี้จะทำการแสดงผลที่หน้าจอ รวมถึงส่งข้อมูลนี้ไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้แพทย์ผู้ดูแล หรือญาติสามารถรับรู้อาการของผู้ใช้งานได้แบบเรียลไทม์ ส่วนการวัดความดันไม่เป็นระบบอัตโนมัติ แต่จะใช้อุปกรณ์ไร้สาย Withings Blood Pressure ซึ่งสามารถตั้งเวลาการวัดความดันให้แจ้งเตือนได้ โดยผลจะถูกส่งข้อมูลสู่เซิร์ฟเวอร์เช่นเดียวกัน

ในส่วนของผู้ดูแล ก็สามารถเข้าดูอัตราการเต้นของหัวใจ รวมทั้งการประมวลผลต่างๆ ได้จากระยะไกลผ่านทาง Web Application ซึ่งไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ และอุปกรณ์นี้สามารถรองรับการบริหารจัดการข้อมูลของผู้สวมใส่ได้แบบรายบุคคล

app2

ทุกคนมีคนที่เรารัก แต่ด้วยเวลาที่จำกัดอาจทำให้ใช้เวลาดูแลได้ไม่เพียงพอ การที่เราและแพทย์สามารถดูแลรับรู้ความเป็นอยู่และเฝ้าระวังอาการของเขาได้ทุกที่ทุกเวลา ก็ทำให้เราอุ่นใจมากขึ้น ซึ่งชุดอุปกรณ์นี้น่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการดูแลคนที่เรารักได้อย่างง่ายดาย

พัฒนาให้ตรงมาตรฐาน เพื่อการใช้งานที่แม่นยำ
เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ กลุ่มเป้าหมายที่วางไว้จึงได้แก่ สถานพยาบาล Nursing Home เพื่อเป็นตัวช่วยในการทำงาน ส่วนทางด้านรายบุคคลที่ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพผู้ใช้งานจะมีประวัติบันทึกค่าอัตราการเต้นของหัวใจ และความดันเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวิเคราะห์ของแพทย์เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

“ตอนนี้มีการร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช เพื่อสำรวจว่าสามารถเพิ่มหรือแก้ไขการใช้งานส่วนใดได้บ้าง เบื้องต้นเป็นเรื่องของการส่งข้อมูลที่จะเพิ่มเติมให้มีความละเอียดมากขึ้น และเรื่องของความแม่นยำในการวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากอัตราการเต้นของหัวใจสามารถเพิ่มขึ้นเมื่อเกิดอาการตื่นเต้น หรือเหนื่อย ซึ่งอาจส่งผลต่อการแจ้งเตือนให้คลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากความแม่นยำเป็นสิ่งสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการแพทย์”

ตามกำหนดการรับรองมาตรฐานเทคโนโลยีทางการแพทย์ต้องแม่นยำมากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในขณะนี้ชุดอุปกรณ์ UbinurSS มีความแม่นยำในการวัดอัตราการเต้นของหัวใจประมาณ 95-97 เปอร์เซ็นต์ สำหรับแผนการต่อยอดยังอยู่ในช่วงศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม โดยปัจจุบันคาดว่าจะพัฒนาความแม่นยำให้กับการวัดอัตราการเต้นของหัวใจและค่าความดันให้ได้ตรงตามมาตรฐานก่อน

“เพราะว่าทุกคนมีคนที่เรารัก แต่ด้วยเวลาที่จำกัดอาจทำให้ใช้เวลาดูแลได้ไม่เพียงพอ การที่เราและแพทย์สามารถดูแลรับรู้ความเป็นอยู่และเฝ้าระวังอาการของเขาได้ทุกที่ทุกเวลา ก็ทำให้เราอุ่นใจมากขึ้น ซึ่งชุดอุปกรณ์นี้น่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการดูแลคนที่เรารักได้อย่างง่ายดาย”

 

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

ทอ-ไอ-ยอ-ไทย-applicaition
ทอ-ไอ-ยอ-ไทย สอนน้องอ่านภาษาไทย เบื้องต้น

ช่วงเริ่มต้นในการเรียนรู้ภาษา ยังคงเป็นเรื่องที่ยากที่สุดเสมอ โดยเฉพาะกับเด็กๆ ทีเริ่มเข้าโรงเรียนและเรียนรู้ภาษาอย่างจริงจังที่มาก กว่าการพูด ปัญหาการอ่านเขียนภาษาไทยของเด็กเล็ก ยังคงมีให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมีการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุด...