เข้าถึงสื่อออนไลน์ง่ายขึ้น จึงทำให้แกล้งกันมากขึ้น
ทางศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลอง ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดเผยว่า การใช้งานได้ง่ายขึ้นของสื่อออนไลน์ เด็กนักเรียนใช้โซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยการกลั่นแกล้งจะเป็นในรูปแบบการสร้างเรื่องโกหก ล้อปมด้อย ล้อชื่อพ่อแม่ และมีการเอาคืนกันได้ง่าย เพราะสื่อออนไลน์นั้นสร้างความเท่าเทียมกันของการแสดงออก ทำให้ความสามารถในการแกล้งกันของทุกคนใกล้เคียงกัน

หน้าเว็บ safeinternet สำหรับผู้ปกครอง ครู และเด็ก ๆ
หลักสูตรเพิ่มภูมิคุ้มกันบนสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก
ซึ่งตอนนี้มีหลักสูตรออนไลน์ Safe Internet ที่ทาง dtac ได้พัฒนาเพื่อให้เด็ก ครอบครัว และครู สามารถพัฒนาความรู้ มีภูมิคุ้มกัน และทักษะในการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ซึ่งได้รับการออกแบบโดย Parent Zone ผู้ให้บริการด้านความรู้ในการเลี้ยงเด็กในยุคดิจิทัลสัญชาติอังกฤษ

ผู้เล่นจะสวมบทเป็นตัวละครน้องฟ้า
หลักสูตรออนไลน์ Safe Internet ใช้งานอย่างไร
ทั้งนี้ หลักสูตรออนไลน์ Safe Internet ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับเด็กอายุ 5-16 ปี ตลอดจนครูและผู้ปกครอง โดยสามารถใช้เข้าผ่านเว็บไซต์ www.safeinternetforkid.com ซึ่งประกอบด้วยเกมทดสอบความเข้าใจโลกออนไลน์ คลังคำศัพท์ แบบฝึกหัด และคำแนะนำสำหรับครู ตลอดจนผู้ปกครอง
โดยในเกมแบบฝึกหัดจะมีความยากง่ายตามอายุของผู้เล่น ตัวละครหลักชื่อน้องฟ้า ซึ่งจะมีเนื้อหาของการเล่นเกมออนไลน์อย่างมีน้ำใจในการใช้คำพูด การเล่นสื่อออนไลน์อย่างปลอดภัย และการแก้ปัญหาเมื่อหรือกอบกู้สถานการณ์เมื่อเกิดปัญหา หากทำแบบทดสอบได้ครบ จะมีใบประกาศณียบัตรว่าได้เรียนรู้ถึงการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
ครูและผู้ปกครองอย่ามองข้ามถึงปัญหา และเข้าใจว่าการรังแกเป็นเรื่องยอมรับไม่ได้ และควรเป็นที่พึ่งให้กับเด็กที่ถูกกระทำ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงตัวตนของตัวเอง กล้าที่จะบอกถึงปัญหา เพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กในการใช้สื่อออนไลน์อย่างทันถ่วงที
อ้างอิง จากงานวิจัยเรื่อง “การแกล้งกันของเด็กนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย