เทคโนโลยี HCE จะคล้ายกับเทคโนโลยี NFC แต่สำหรับ HCE ไม่ต้องเปลี่ยนซิมการ์ด หรือติดตั้งชิปการ์ดพิเศษบนดีไวซ์ ผู้ใช้งานไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง เพื่อให้สามารถใช้บริการจากทางผู้ออกบัตรเครดิต
การร่วมมือกันระหว่าง 3 พันธมิตร ได้แก่ ซิมพลีแทพพ์ พรอมท์นาว และทีไอเอส ภายใต้โครงการ Asian Payment Cloud (APC) เปิดตัวโซลูชั่นชำระเงินด้วยสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ผ่านคลาวด์ในรูปแบบของ Host Card Emulation (HCE) เป็นครั้งแรกในไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ดั๊ก ยีเกอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท SimpplyTapp Inc. จำกัด กล่าวว่า ซิมพลีแทพพ์ เริ่มจากการรวมกลุ่มของนักพัฒนาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ในการร่วมกันพัฒนาโซลูชั่นด้านการชำระเงินแบบแตะและธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ โดยเทคโนโลยีของบริษัทจะเอื้อต่อการใช้ ฟังก์ชั่นการชำระเงินบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อออกบัตรเครดิตหรือเดบิต ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นเรื่องง่ายสะดวก และปลอดภัยสำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีก รวมทั้งการขนส่ง และการจองตั๋ว
การชำระเงินด้วยเทคโนโลยี HCE
ซิมพลีแทพพ์ ในฐานะผู้พัฒนาเทคโนโลยีโฮสต์ การ์ด อีมูเลชั่น หรือเอชซีอี ได้ให้ความสำคัญในการผลักดันระบบชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือที่ใช้เทคโนโลยี NFC และ HCE เพื่อให้นักพัฒนาสามารถใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือในการชำระเงินแบบแตะและทำธุรกรรมการเงินอื่นๆ ได้
โดยโซลูชั่น Mobile Payment Cloud ผู้ใช้สมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ของธนาคารและสถาบันการเงินที่ร่วมกับโครงการ Asian Payment Cloud (APC) นี้ จะสามารถใช้โทรศัพท์ในการชำระเงินในแบบแตะเพื่อจ่าย (Tap and Pay) ได้ที่จุดรับชำระเงินทุกแห่ง และด้านความปลอดภัย ด้วยเทคโนโลยีที่ซิมพลีแทพพ์ออกแบบไว้จะทำการเก็บข้อมูลของบัตรเครดิตจำลองไว้ในเครื่องจึงไม่จำเป็นต้องพกบัตรเครดิตหรือเดบิตจริง
ชิม โธมัส กรรมการบริหาร บริษัท พรอมท์นาว จำกัด กล่าวว่า พรอมท์นาว จะช่วยในการนำเทคโนโลยีดังกล่าวนี้มาใช้งานเพื่อทำให้สามารถมาต่อยอดบริการการชำระเงินให้มีความง่ายและปลอดภัยที่สูงขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเทคโนโลยี HEC และระบบชำระเงินด้วยมือถือผ่านคลาวด์นี้ จะช่วยตอบ
โจทย์การใช้งานของผู้บริโภคในปัจจุบันอย่างสูงสุด รวมถึงผู้บริโภคกลุ่มนักเรียน นักศึกษาที่ยังไม่มีรายได้ในการมีบัตรเครดิตแต่อยากใช้จ่ายเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และสามารถชำระเงินผ่านโมบายล์ดีไวซ์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะสะท้อนถึงไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี
![]() |
ฉบับที่ 199 เดือนกรกฏาคมYouTuber นักสร้างสรรค์โฆษณาดิจิตอล |
รับเทรนด์ Mobile Payment มาแรง
การนำร่องให้บริการระบบชำระเงินแบบใหม่ โดยใช้สมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ผ่านระบบคลาวด์คอมพิ้วติ้งที่บริษัท มองว่าเป็นโอกาสใหม่ทางธุรกิจ เนื่องจากเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในไทยเป็นระบบแอนดรอยด์ ในจำนวนนี้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นมือถือที่รองรับการใช้งาน NFC ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่สามารถใช้ชำระเงินค่าบริการหรือซื้อสินค้าต่างๆ ผ่านมือถือได้โดยไม่ต้องใช้เงินสดหรือบัตรเครดิต
ตลาดเมืองไทยมีการตอบรับโมบายล์แบงกิ้งสูง ซึ่งผลสำรวจตลาดจากสถาบันการเงินพบว่า คนไทยนิยมใช้จ่ายด้วยวิธี Mobile Payment เติบโตสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าการใช้อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง แม้จะมีข้อจำกัดของการใช้งานที่ต้องอิงกับซิมการ์ดและมือถือที่รองรับ”
โธมัส กล่าวต่อว่า ตอนนี้เตรียมจะเริ่มทดลองใช้โซลูชั่นดังกล่าวกับธนาคารไทยพาณิชย์ โดยใช้ระยะ 6 เดือน ในการทดลองบริการใหม่ ซึ่งตั้งเป้าผู้ใช้งานในช่วงทดลองประมาณ 1,000 ราย เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ก่อนจะเริ่มนำเสนอให้กับลูกค้าเป้าหมายในกลุ่มธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ โดยคาดว่าจะมีลูกค้าที่สนใจตอบรับการใช้งานประมาณ 3-4 ราย ในปีแรก
ความร่วมมือระหว่างพันธมิตร
พันธมิตรในโปรเจ็กต์นี้มีความแข็งแกร่งในแต่ละด้าน ซิมพลีแทพพ์ ซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่ได้ทำงานใกล้ชิดกับทีไอเอส ซึ่งเป็นผู้ติดตั้งระบบด้าน Payment รายใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น และมีหุ้นในเอ็มแฟ็คอยู่แล้ว ขณะเดียวกันเอ็มเฟ็คถือหุ้นใหญ่ในพรอมท์นาว ซึ่งถนัดด้านการทำแอพพลิ-เคชั่น ประกอบกับเทรนด์ของตลาดที่เริ่มมาเป็นเวอร์ช่วล การ์ด มากขึ้น
เทคโนโลยีนี้จะทำให้จ่ายเงินด้วยวิธีแตะสมาร์ทโฟนเพื่อชำระค่าบริการต่างๆ ได้ทุกที่ ซึ่งระบบจะเก็บข้อมูลบัตรเครดิตจำลองไว้ในเครื่องทำให้ไม่ต้องพกบัตรจริง ลดขั้นตอนในการขอบัตรเครดิต
ในประเทศไทย พรอมท์นาวถือเป็นรายแรกในการนำโซลูชั่นนี้มาทำให้กับธนาคารและสถาบันการเงิน ดังนั้น จึงยังไม่มีคู่แข่งในตลาด และในส่วนของโซลูชั่นชำระเงินบน iOS คือ Apple Pay ยังไม่มีแพลนเข้ามาเปิดบริการและทำตลาดในเมืองไทย ทำให้คาดว่าความร่วมมือครั้งนี้จะเพิ่มโอกาสใหม่ๆ ในตลาดไทย รวมถึงโอกาสที่จะไปให้บริการกับลูกค้าธนาคารในต่างประเทศได้ด้วย โธมัส กล่าว
ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่
ดั๊ก กล่าวว่า เทคโนโลยี HCE ที่ซิมพลีแทพพ์พัฒนาขึ้นนี้ ใช้คอนเซ็ปต์ของการจำลองโฮสการ์ด และเทคโนโลยีบัตรเสมือนจริงทำงานร่วมกัน และประมวลผลผ่านคลาวด์จากดาต้า เซ็นเตอร์ ที่ใช้กับสถาบันการเงินของทีไอเอส การันตีความปลอดภัย ทั้งนี้เทคโนโลยี Mobile Payment แบบ HCE ยังได้รับการยอมรับการใช้งานจากกูเกิลเจ้าของตลาดแอนดรอยด์ ทำให้เทคโนโลยี Payment แพร่หลายในวงกว้าง โดยเฉพาะตลาดในสหรัฐฯ และแคนาดา
สำหรับเอชซีอี มีข้อได้เปรียบกว่า เทคโนโลยี Mobile Payment อื่นๆ ที่ใช้คุณสมบัติของคลาวด์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลการใช้เงินของลูกค้า ขณะที่สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ยังแพร่หลายและราคาต่ำเข้าถึงผู้ใช้งานได้จำนวนมากกว่าระบบปฏิบัติการอื่น
เทคโนโลยีนี้จะทำให้ลูกค้าของธนาคารสามารถใช้จ่ายเงินด้วยวิธีแตะสมาร์ทโฟนเพื่อชำระค่าบริการต่างๆ ได้ทุกที่ ซึ่งระบบจะเก็บข้อมูลบัตรเครดิตจำลองไว้ในเครื่องทำให้ไม่ต้องพกบัตรจริง และลดขั้นตอนในการขอบัตรเครดิต รวมถึงสร้างความได้เปรียบในการดึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เช่น วัยรุ่น หรือวัยเริ่มต้นทำงานให้ใช้บริการของธนาคารได้เพิ่มขึ้น
ใช้งานง่ายไม่ต้องเปลี่ยนซิม
โธมัส กล่าวต่อว่า เทคโนโลยี HCE จะคล้ายกับเทคโนโลยี NFC ซึ่งการใช้งานที่เห็นชัดเจนในการนำมาทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คือบริการของเอไอเอสที่ร่วมกับแรบบิท เปิดตัว AIS mPay Rabbit ที่ใช้มือถือสมาร์ทโฟนของซัมซุงในการชำระเงินค่ารถไฟฟ้า BTS ซึ่งข้อจำกัดที่เกิดขึ้นคือ ไม่สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนทุกรุ่นของซัมซุงและต้องเปลี่ยนซิมการ์ดเพื่อ รองรับการทำงาน แต่สำหรับ HCE ไม่ต้องเปลี่ยนซิมการ์ด หรือติดตั้งชิปการ์ดพิเศษบนดีไวซ์
สำหรับบริการโซลูชั่น Mobile Payment Cloud เพียงผู้ใช้งานมีสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอน-ดรอยด์สามารถดาวน์โหลดแอพพลิ เคชั่นของธนาคารที่ใช้งานบริการนี้ไว้บนเครื่อง ก็เปิดใช้งานได้ทันที ซึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ต้องการใช้งานบริการโซลูชั่นนี้สามารถเลือก ฟีเจอร์ที่ต้องการได้ เช่น Tap and Pay การชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายหรือสแกนแอนด์เปย์ ที่ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในการส่งข้อมูลเพื่อทำธุรกรรม ซึ่งจะคล้ายบริการ UP2Me ของธนาคารไทยพาณิชย์ โดยฟีเจอร์นี้จะเอื้อกับสมาร์ทโฟนที่ไม่มีเทคโนโลยี NFCการนำเทคโนโลยี HCE มาใช้ จะช่วยให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินสามารถเปิดบริการได้เร็วยิ่งขึ้น และดึงดูดผู้ใช้งานเนื่องจากไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง เพื่อให้สามารถใช้บริการจากทางผู้ออกบัตรเครดิตหรือเดบิตเพียงแค่ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเท่านั้น ที่สำคัญเทคโนโลยีจะช่วยเรื่องความปลอดภัยของการใช้งานบัตรเครดิตที่จะไม่ถูกขโมยไปรูดใช้งานโดยที่เจ้าของบัตรไม่ทราบ เพราะบัตรเครดิตอยู่บนโมบายล์แพลตฟอร์ม ซึ่งถ้าเกิดการสูญหายข้อมูลบนบัตรจะไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้เนื่องจากเป็นการส่งข้อมูลแบบ LUK (Limited User Keys)
“บริการ Mobile Payment Cloud จะช่วยให้สถาบันการเงินและธนาคารผู้ออกบัตรมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าให้แก่ลูกค้าที่เป็นกลุ่มผู้ใช้แอนดรอยด์ ซึ่งนับวันจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถ้าทำให้สมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ในการชำระเงินผ่านจุดชำระเงินที่จัดให้ และสามารถทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบอื่นๆ ได้ยิ่งเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น” โธมัส กล่าว