มหาวิทยาลัยดิจิทัล มุ่งสู่การติดอันดับอาเซียน

โลกการศึกษากำลังเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากอุปกรณ์โมบายล์และความพร้อมของเครือข่ายไร้สาย ทำให้ต้องเร่งเตรียมความพร้อมของ Digital Infrastructure, Digital Learning, Digital Administration, Digital Security, Digital Faculties

รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน

วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีไวร์เลส แอ็คเซส มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของภาคเหนือ และอันดับสองของประเทศ

รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เริ่มการพัฒนาเป็น Digital University ในเฟสแรก เมื่อปี พ.ศ.2556 ซึ่งเฟสนี้รวมถึงการพัฒนาระบบเครือข่ายไร้สาย โมบายล์เซอร์วิส พัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารด้วย Business Intelligence เพื่อใช้วางแผนและตัดสินใจจากข้อมูลคาดการณ์แนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ Smart Learning & Smart Classroom Digital Literacy เป็นไปอย่างราบรื่น

โดยโซลูชั่นของซิสโก้ที่เป็นเครือข่ายหลัก (Core Network) โซลูชั่นไร้สาย และระบบรักษาความปลอดภัยที่ทำงานร่วมกัน ช่วยให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปรับเปลี่ยนสู่ยุค Internet of Everything ได้เป็นอย่างดี และสำหรับเฟสสอง คาดว่าจะเริ่มภายในปี พ.ศ. 2559 เพื่อให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กลายเป็นต้นแบบแห่งการใช้ชีวิตแบบดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ การมุ่งมั่นพัฒนาด้านเทคโนโลยีนี้ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยทำให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สามารถติด 50 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกภายใน 5-10 ปีข้างหน้า

เปลี่ยนชีวิตนักศึกษา และบุคลากรเป็น Digital Life
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้นำเทคโนโลยีมาพัฒนาด้าน Digital Life ให้กับนักศึกษา โดยครอบคลุมการให้บริการต่างๆ ด้านไอทีภายในมหาวิทยาลัย ดังนี้ พัฒนาระบบเครือข่ายไร้สายมหาวิทยาลัย (Wi-Fi@JumboPlus) ร่วมกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้ครอบคลุมทั่วทั้งมหาวิทยาลัยจำนวนกว่า 2,700 จุด ครอบคลุมทั้ง 3 พื้นที่ของมหาวิทยาลัยคือ สวนสัก สวนดอก และแม่เหียะ ทั้ง 21 คณะ รวมถึงพื้นที่สาธารณะทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัย โดยผู้ใช้สามารถลงทะเบียนระบบอัตโนมัติได้คนละ 5 อุปกรณ์อย่างสะดวกและปลอดภัยที่สุด

การให้บริการ CMU Mobile Application เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรได้รับความสะดวกสบายในการใช้งาน การเข้าถึงบริการสำคัญของมหาวิทยาลัย ได้แก่ CMU News, Calendar, CMU Portal Connect, e-Doc Mobile alert, CMU Online และ CMU Broadcast นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร CMU EIS จากฐานข้อมูล CMU MIS และ FIS โดยใช้เครื่องมือ BI (Business Intelligence) ให้ผู้บริหารสามารถใช้เพื่อการวางแผน การตัดสินใจจากข้อมูล คาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

ศูนย์คอมพิวเตอร์กลางของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ITSC Corner) มีทั้งหมด 47 ศูนย์ ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์จำนวน 1,090 เครื่อง ให้นักศึกษาใช้ในการเข้าถึงสารสนเทศโดยตามกระจาย และหอพักทั่วทั้งมหาวิทยาลัย และโครงการ Smart Learning & Smart Classroom ที่มีการจัดการเรียนการสอนโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศพร้อมด้วยเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ทันสมัยภายในห้องเรียน โดยผู้เรียนสามารถสืบค้นและทบทวนบนเรียนได้ด้วยตนเองทุกที่ทุกเวลาผ่านทุกอุปกรณ์ โดยผู้สอนสามารถสร้างสื่อการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างง่ายในการผลิตสื่อเรียนรู้แนวใหม่ เช่น Streaming Media โดยมีแหล่งรวมความรู้ออนไลน์ผ่าน www.cmucuteajarn.cmu.ac.th

“สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศมีการตรวจพบว่า อีเมลที่เข้ามาในระบบมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เป็นสแปมเมล มีเพียง 8.3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่เป็นอีเมลแบบกรีนเมสเสจ”

มหาวิทยาลัยจึงเห็นว่า หากมีระบบที่จะมาช่วยดูแลป้องกันการถูกโจมตีของสแปมอีเมลที่มีปริมาณสูงน่าจะทำให้บริหารจัดการระบบเครือข่ายในมหาวิทยาลัยได้ดียิ่งขึ้น จึงได้เลือกใช้ระบบการรักษาความปลอดภัย Cisco Email Security โดยทำหน้าที่เป็นด่านแรกในการจัดการทุกปัญหาของอีเมล เช่น การลดข้อความสแปมที่ไม่ต้องการ การตรวจสอบแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

SP1-2

นอกจากนี้ ยังมีระบบอัพเดตข้อมูลสแปมและไวรัสอัตโนมัติ รวมถึงความสามารถในการป้องกันปัญหาการโจมตีในรูปแบบต่างๆ และระบบจัดการอีเมลที่ช่วยให้การใช้งานอีเมลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดคิวการรับ-ส่งอีเมล การรับมือกับเมลที่ถูกตีกลับ และการบริหารการเชื่อมต่อในระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบพื้นฐานของอีเมลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในช่วงที่มีการแพร่กระจายของไวรัสหรือการโจมตีของสแปม จึงช่วยให้มหาวิทยาลัยประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ พลังงาน แบนด์วิดธ์ของระบบ รวมถึงเวลาของผู้ดูแลระบบไอทีอีกด้วย

e203

ฉบับที่ 203 เดือนพฤศจิกายน

FinTech อนาคตโลกการเงิน

โซลูชั่นตอบโจทย์การศึกษา
วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า ปัจจุบันพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่เปลี่ยนไป ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไปด้วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต้องการส่งเสริมให้นักศึกษามีประสบการณ์ Digital Life โดยร่วมมือกับซิสโก้ในฐานะพันธมิตร ติดตั้งเครือข่ายหลัก (Core Network) และการรองรับโซลูชั่นไวร์เลส พร้อมระบบความปลอดภัยครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการเชื่อมต่อทุกที่ทุกเวลา รวมถึงรองรับการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในมหาวิทยาลัย

เครือข่ายไร้สายกว่าแสนเครื่อง
เนื่องจากความต้องการการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นของนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยจึงมองหาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตรูปแบบใหม่ที่พร้อมรองรับการทำงานในอนาคตแทนระบบ ATM (Asynchronous Transfer Mode) รูปแบบเดิม โดยตัดสินใจปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอที เลือกใช้เทคโนโลยี Gigabit Ethernet มาเป็นระบบเครือข่ายหลักของทางมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการติดตั้งโครงข่ายอีเทอร์เน็ต 10 กิกะบิต

ขณะนี้ เครือข่ายไร้สายของมหาวิทยาลัยสามารถรองรับการทำงานของดีไวซ์ไม่ต่ำกว่า 100,000 เครื่อง แต่ละแอ็กเคานต์สามารถรองรับการใช้งานดีไวซ์ได้ถึง 5 เครื่อง ได้แก่ พีซี โน้ตบุ๊ก ไอแพด และสมาร์ทโฟน โดยสามารถใช้งานได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งตอนนี้มีจำนวนผู้ใช้งานกว่า 50,000 คน ได้แก่ นักศึกษากว่า 37,000 คน บุคลากรกว่า 11,300 คน ใน 22 คณะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายไร้สายที่ปลอดภัยและปรับขนาดได้ผ่านแอ็คเซสพอยต์ประมาณ 2,700 จุด บนความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตขนาด 5 Gbps ครอบคลุมหน่วยงานทั้งในส่วนวิชาการและส่วนสนับสนุนทั่วทั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีไวร์เลส แอ็คเซส มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของภาคเหนือ และอันดับสองของประเทศ นักศึกษาและบุคลากร สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

วัตสัน กล่าวว่า เทคโนโลยีเครือข่ายและระบบความปลอดภัยกำลังได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงภาคการศึกษา โดยภาคการศึกษามีความสนใจเลือกใช้ประมาณ 5-6 แห่ง ในประเทศไทยโดยเชื่อว่าเทรนด์ความปลอดภัยข้อมูลจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากบริการด้านระบบความปลอดภัยข้อมูลถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ซิสโก้ให้ความสำคัญ

 

You may be interested in

Latest post from Facebook


Warning: Invalid argument supplied for foreach() in /var/www/vhosts/digitalagemag.com/httpdocs/wp-content/themes/geeky-child/shortcodes/new-listing.php on line 19

Related Posts

เอไอ ChatGPT ดังจนมีแอพปลอมโผล่มากมายทั้งใน AppStore และ PlayStore

ล่าสุดมีแอพ ChatGPT ปลอม โผล่ขึ้นทั้งใน App Store ของแอปเปิ้ลและ Play Store ของกูเกิลมากมาย …