เทคโนโลยีการสื่อสารทางภาพ
สร้างคุณภาพชีวิต

จากจุดเริ่มต้นด้วยคนเพียง 9 คน ภายในโรงเก็บมิโซะ เมืองซูวะ จังหวัดนากาโนะ ประเทศญี่ปุ่น ราว 70 ปีก่อน บนพื้นฐานคตินิยมดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นที่ชื่อว่า “Monozukuri” ซึ่งแปลว่า “การผลิต” หรืออีกนัยหนึ่งมีความหมายว่าศาสตร์และศิลป์แห่งการประยุกต์ ก่อร่างสร้างให้ บริษัท ไซโก้ กลายเป็นผู้ผลิตนาฬิกาความเที่ยงตรงสูงที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกได้สำเร็จ

ในปี ค.ศ. 1964 ไซโก้ได้รับเกียรติให้เป็นผู้ผลิตนาฬิกาจับเวลาอย่างเป็นทางการของมหกรรมกีฬาโอลิมปิกส์โตเกียว ดังนั้นบริษัทจึงพัฒนาระบบบอกเวลาความเที่ยงตรงสูงรุ่น “Crystal Chronometer QC-951” พร้อมระบบพิมพ์ใบบันทึกเวลาเพื่อช่วยในการจับเวลาโดยเฉพาะ นับตั้งแต่นั้นมา จึงเริ่มเข้าสู่ธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการสร้างปริ้นเตอร์ดิจิตอลขนาดย่อมเครื่องแรก ในชื่อ EP-101 ซึ่งกลายเป็นรากฐานของธุรกิจปริ้นเตอร์ของเอปสันในเวลาต่อมา

EP 101

EP 101

ปริ้นเตอร์ EP-101 หรือชื่อเต็ม Electronic Printer-101 กลายเป็นที่นิยมในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากมียอดขายสูงถึง 1.4 ล้านเครื่องและขายอยู่ได้นานถึง 20 ปี ด้วยโครงสร้างที่มีน้ำหนักเบา ดีไซน์ภายนอกที่เรียบง่าย และกินไฟน้อย สามารถนำเอาไปประกอบรวมกับเครื่องคิดเลขดิจิตอลเพื่อใช้งานในการบันทึกข้อมูล หลังจากนั้นปริ้นเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในเวลาต่อมาจึงเรียกว่า EP+SON สืบเนื่องมาจากความคาดหวังว่า จะสามารถผลิตลูกหลานของเครื่อง EP ออกมาเรื่อยๆ จึงเป็นที่มาของแบรนด์ EPSON นั่นเอง

พิพิธภัณฑ์ ไซโก้ เอปสัน โมโนสุกุริ ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น ริมทะเลสาบซูวะ เมืองซูวะ จังหวัดนากาโนะ ได้แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งมาพัฒนาเป็นพิพิธภัณธ์ “ไซโก้ เอปสัน โมโนสุกุริ” ที่เก็บรวบรวมข้อมูลสินค้าและผลิตภัณฑ์ของบริษัทตั้งแต่ในอดีตเอาไว้ เพื่อบันทึกเป็นความทรงจำที่น่าภาคภูมิใจไว้ให้คนรุ่นหลังได้เยี่ยมชม ศึกษา พร้อมพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมให้ดียิ่งขึ้นไป

HC 20

HC 20

ตัวอย่างนาฬิกา ตราสินค้าไซโก้
ภายหลังจากการผลิตนาฬิกาสำหรับสุภาพสตรีเรือนแรกสำเร็จ บริษัทยังพัฒนาตัวนาฬิกาในหลายด้านไม่ว่าจะในด้านรูปลักษณ์ วิธีการผลิต หรือกลไก จนเกิดเป็นนาฬิการุ่น “Marvel” และ “Seiko Marvel” ซึ่งถือเป็นรากฐานของธุรกิจนาฬิกาของบริษัท การพัฒนานาฬิการุ่น Marvel เกิดขึ้นได้เพราะความก้าวหน้าอย่างบริบูรณ์ทั้งด้านเทคนิคการผลิต ด้านการผลิตระบบอัตโนมัติ การผลิตนาฬิกาเป็นจำนวนมาก และการลดต้นทุน เมื่อออกสู่ตลาด นาฬิการุ่นนี้ได้ทั้งรางวัล ได้ทั้งความนิยมจากผู้บริโภคจำนวนมาก

นาฬิการะบบนี้ ในยุคแรกจะใหญ่กว่าตัวคน แต่ในที่สุดบริษัทก็สามารถย่อขนาดของนาฬิการะบบควอตซ์ลงมาได้ในที่สุดอย่างที่เห็นเป็นรุ่น QC-951 นาฬิการุ่นนี้ถือเป็นนาฬิการะบบควอตซ์รุ่นแรกของโลกที่มีขนาดพกพาได้ ความเที่ยงตรงสูง ใช้แบตเตอรี่และได้รับเกียรติให้เป็นอุปกรณ์จับเวลามาตรฐานของมหกรรมกีฬาโอลิมปิกส์โตเกียว ในปี ค.ศ. 1964

นาฬิการะบบควอตซ์

นาฬิการะบบควอตซ์

เครื่องนี้มีทั้งกลไกของนาฬิกาจับเวลาและกลไกเครื่องพิมพ์เวลา โดยเครื่องจับเวลานี้นำไปใช้ ในการแข่งวิ่งระยะสั้นที่มักจะเป็นเรื่องยากสำหรับกรรมการที่จะตัดสินผู้ชนะด้วยตาเปล่า แต่เมื่อใช้เครื่องนี้ ทันทีที่ผู้แข่งขันเริ่มออกวิ่งในการแข่งวิ่งระยะ 100 เมตร เครื่องดังกล่าวจะส่งสัญญาณเริ่มต้นเพื่อให้มีการจับเวลา เมื่อผู้แข่งขันมาถึงเส้นชัย เครื่องจะส่งสัญญาณอีกครั้งเพื่อให้เครื่องจับเวลาพิมพ์ใบบันทึกเวลาออกมาอย่างรวดเร็ว ภายหลังถูกพัฒนาต่อยอดไปสู่ปริ้นเตอร์เครื่องแรกอีกด้วย

 

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ตราสินค้าเอปสัน
เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเท่าฝ่ามือ “HC-20” ที่ออกวางขายสู่ตลาดในปี ค.ศ.1982 เครื่องนี้ มาพร้อมคีย์บอร์ด จอแสดงผลแอลซีดี หน่วยความจำแม่เหล็ก และฟังก์ชั่นสื่อสารข้อมูล เรียกได้ว่าเครื่องนี้เกือบจะเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีวิสัยทัศน์บางอย่างจึงพัฒนาสินค้าประเภทนี้มาตั้งแต่เมื่อ 32 ปีก่อนแล้ว

อิงค์เจ็ทปริ้นเตอร์ EPSON Stylus COLOR800 ได้รับการติดตั้งไปกับกระสวยอวกาศ Discovery และได้ออกนอกโลกไปพร้อมกับมนุษย์อวกาศ โดยปริ้นเตอร์นี้มีไว้สำหรับใช้พิมพ์รายงานเกี่ยวกับการเดินทางสู่อวกาศในระยะเวลา 9 วัน ผลการทดลองคือ ตัวเครื่องทนต่อการสั่นสะเทือน ไม่มีปัญหาเครื่องร้อนจนส่งผลกระทบต่อการใช้งาน อีกทั้งยังประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ปริ้นเตอร์นี้ผ่านการทดสอบ พร้อมระบุว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าความคาดหมายทุกเกณฑ์

นอกจากนั้น ยังมีผลิตภัณฑ์น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ ปริ้นเตอร์สีระบบอิงค์เจ็ตเครื่องแรกของโลก สารพัดรุ่นปริ้นเตอร์หัวเข็ม อิงค์เจ็ตปริ้นเตอร์ โปรเจ็คเตอร์ คอมพิวเตอร์ และผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท รวมถึงอุปกรณ์ Wearable ที่มีขายเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นด้วย

 

ความภาคภูมิใจตลอด 40 ปีที่ผ่านมา
ฮิโรกิ ยามาโมโตะ ผู้อำนวยการ เอปสัน เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่าว่า เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ในปี ค.ศ. 1985 “บริษัทซูวะ ไซโก้ชะ” ควบรวมกิจการของเอปสัน จึงเกิดบริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ป ขึ้นมา ไซโก้เป็นชื่อตราสินค้าของนาฬิกา ส่วน เอปสัน เป็นชื่อตราสินค้าของปริ้นเตอร์ เมื่อมีการควบรวมกิจการ จึงผนวกชื่อของทั้งสองตราสินค้าไว้ด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามตรรกะการดำเนินงานขอยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีแบบ Sho Sho Sei หรือเทคโนโลยีที่ประกอบไปด้วยความเล็กกะทัดรัด ประหยัดพลังงาน และเที่ยงตรงแม่นยำ จากจุดเริ่มต้นในการพัฒนาสินค้าในส่วนของนาฬิกา ต่อมาจึงขยายไปยังกลุ่มปริ้นเตอร์ โปรเจ็คเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ใช้เซ็นเซอร์ ตรวจจับอุณหภูมิ หรือวัดแรงสั่นสะเทือน

ฮิโรกิ ยามาโมโตะ ผู้อำนวยการ เอปสัน เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ฮิโรกิ ยามาโมโตะ

ไซโก้ เอปสัน โมโนสุกุริ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลสินค้าและผลิตภัณฑ์ของบริษัทตั้งแต่ในอดีตเอาไว้ เพื่อบันทึกเป็นความทรงจำที่น่าภาคภูมิใจไว้ให้คนรุ่นหลังได้เยี่ยมชม ศึกษา พร้อมพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมให้ดียิ่งขึ้นไป

ที่ผ่านมาบริษัทใช้งบการลงทุนสำหรับวิจัยและพัฒนา 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน เพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเพื่อนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ โครงสร้าง องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น ทำให้บริษัทมีการประกาศสิทธิบัตรใหม่ปีละประมาณ 5,000 สิทธิบัตร และมีการถือสิทธิบัตรที่ยังมีผลใช้ตามกฏหมายในปัจจุบันมากกว่า 50,000 สิทธิบัตรด้วย

“กลยุทธ์ทางธุรกิจต่อไปในอนาคตคือการใช้เทคโนโลยีพัฒนาสินค้าใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ การพิมพ์ การสื่อสารทางภาพ การสร้างคุณภาพชีวิต และสินค้าอุตสาหกรรมการผลิต เราเชื่อว่าเทคโนโลยีสามารถสร้างคุณค่า สร้างความแตกต่างในชีวิต และความเป็นอยู่ของผู้ใช้ให้ดีขึ้นได้”

 

กลยุทธ์ของความสำเร็จ

ในภาพรวมของธุรกิจ บริษัทได้ขยายงานพิมพ์ไปยังวัตถุดิบที่แตกต่างกันออกไป ทั้งพิมพ์ป้าย สิ่งทอ ปริ้นเตอร์เพื่ออุตสาหกรรม และยังคงมีเทคโนโลยีช่วยสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เช่น การเปลี่ยนงานพิมพ์ในวงการอุตสาหกรรมและพาณิชย์ จากระบบอนาล็อกเป็นดิจิตอล ที่จะช่วยลดขยะ และของเสียเป็นอย่างมาก หรือแม้แต่การใช้อิงค์เจ็ตปริ้นเตอร์แทนระบบเลเซอร์ก็ยังช่วยลดการใช้พลังงาน

ในส่วนของการสื่อสารทางภาพ บริษัทมีเป้าหมายในการปฏิวัติการสื่อสารทางภาพเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการสื่อสารทางภาพได้ทุกที่และทุกโอกาส พร้อมช่วยให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยเทคโนโลยีการตรวจจับที่แม่นยำ ที่จะช่วยดูแลในเรื่องของสุขภาพ การทรงตัวของผู้คน รวมไปถึงการดูแลในเรื่องของความปลอดภัย เช่น การดูความปลอดภัยในส่วนของตัวอาคาร เป็นต้น อีกทั้งมีการพัฒนาการในเรื่องของการผลิตอุตสาหกรรม จำพวกระบบการผลิตอัตโนมัติโดยการใช้แขนกล

ด้วยกลยุทธ์ที่กล่าวมานี้ เกี่ยวเนื่องไปยังเป้าหมายของบริษัทที่ต้องการให้สินค้าเป็นที่ขาดไม่ได้ในหมู่ผู้บริโภค มีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายสังคม ทั้งนี้บริษัทยังคงยืนยันที่จะพัฒนานวัตกรรมต่อไปเพื่อสร้างความแตกต่าง

 

ก้าวต่อไปสำหรับเอปสันประเทศไทย
เทรนด์การใช้งานอุปกรณ์ไอทีของผู้บริโภคปัจจุบันนั้นเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนค่อนข้างมาก ยกตัวอย่าง เมื่อ 5 ปีก่อน หากผู้บริโภคต้องการซื้อปริ้นเตอร์เครื่องหนึ่ง เขาเหล่านั้นมักจะมองหาปริ้นเตอร์ราคาถูก โดยไม่ได้คำนึงว่าค่าหมึกจะมีราคาเท่าไร แต่ปัจจุบันนี้ ผู้บริโภคมักจะคำนวณราคาต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่น เพื่อความคุ้มค่าในการจับจ่าย

ยรรยง มุนีมงคลทร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมามีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายสินค้าในภูมิภาค ที่ดูแล 17 เปอร์เซ็นต์ ทั้งประเทศไทย เวียดนาม พม่า และกัมพูชา ในขณะที่เฉพาะตลาดประเทศไทยเติบโตขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ โดยกลุ่มสินค้าที่เติบโตสูงที่สุดคือ โปรเจ็คเตอร์ที่เติบโต 28 เปอร์เซ็นต์ อิงค์เจ็ตปริ้นเตอร์ มีรายได้เพิ่ม 25เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นผู้นำอันดับ 1 ในตลาดอิงค์เจ็ตประเทศไทย ทำให้ปี 2558 นี้ตั้งเป้าเติบโตในภาพรวมไว้ที่ 15 เปอร์เซ็นต์

ยรรยง มุนีมงคลทร  ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด

ยรรยง มุนีมงคลทร

กลยุทธ์ทางธุรกิจต่อไปในอนาคตคือการใช้เทคโนโลยีพัฒนาสินค้าใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ การพิมพ์ การสื่อสารทางภาพ การสร้างคุณภาพชีวิต และสินค้าอุตสาหกรรมการผลิต เราเชื่อว่าเทคโนโลยีสามารถสร้างคุณค่า สร้างความแตกต่างในชีวิต และความเป็นอยู่ของผู้ใช้ให้ดีขึ้น

สินค้าเด่นของบริษัทจะประกอบไปด้วย อิงค์เจ็ตปริ้นเตอร์ ที่เน้นขยายเข้าไปสู่ตลาดกลางถึงบน เพื่อรองรับงานพิมพ์ทางธุรกิจที่ต้องการหมึกที่มีความคงทน ได้งานคุณภาพดี ต้นทุนต่อแผ่นต่ำ และรองรับการพิมพ์งานในปริมาณมากด้วยความเร็วสูงทัดเทียมเครื่องถ่ายเอกสาร รวมถึงจะให้ความสำคัญกับปริ้นเตอร์ธุรกิจ ที่รองรับการพกพา สามารถทำงานผ่านการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายทั้งแลน และคลาวด์ รวมถึงเครื่องพิมพ์ฉลาก หรือลาเบลปริ้นเตอร์ความเร็วสูง ส่วนโปรเจ็คเตอร์ จะนำรุ่นไฮเอนด์ ความสว่างสูงกว่า 10,000 ลูเมนส์ มีฟีเจอร์ใหม่ๆ ในรูปแบบอินเทอร์แอคทีฟเข้ามาเสริม

“ขณะนี้การแข่งขันในตลาดมีการแข่งขันค่อนข้างสูง พร้อมกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มเปลี่ยนไป จากเดิมนิยมบริโภคแต่สินค้าที่ราคาถูก ขณะนี้เริ่มมีความเข้าใจและมองความคุ้มค่าการลงทุนมากขึ้น”

 

สำหรับปีนี้ บริษัทจะให้ความความสำคัญกับ 3 ยุทธศาสตร์หลัก ซึ่งประกอบด้วย

1.สินค้าที่มีมูลค่า สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ ใช้ต้นทุนการใช้งานไม่สูง ทว่ามีฟังก์ชั่นครบและมีความคงทน

2.การจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้าแบบไร้พรมแดนทั้งต่างจังหวัดและต่างประเทศ รวมถึงใช้ความได้เปรียบประเทศไทยในฐานะฮับของภูมิภาคกระจายสินค้าออกไป

3.การเพิ่มความชื่นชอบให้กับแบรนด์ ด้วยเดือนเมษายนนี้จะเป็นการก้าวเข้าสู่ปีที่ 25 ของการก่อตั้งบริษัทเอปสันในประเทศไทย จึงมีการวางแผนสร้างแบรนด์โดยมุ่งตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนร่วมกับธุรกิจของเอปสันทุกฝ่าย ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนจำหน่าย ลูกค้า และสังคม พร้อมเชื่อว่าการก้าวเข้าสู่ปีที่ 25 นี้จะทำให้บริษัทมีความแข็งแกร่ง พร้อมรับความท้ายทายใหม่ๆ ที่มั่นใจได้ว่าจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

 

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

future car
รถอัจฉริยะกับอุบัติเหตุ

รถอัจฉริยะของกูเกิล จะมีมนุษย์นั่งไปด้วยเพื่อเข้ามาควบคุมรถแทนในสถานการณ์ที่รถอัจฉริยะยังทำเองไม่ได้ ในบทความที่แล้วผมได้นำเสนอประเด็นเรื่องรูปแบบการจราจร และการใช้รถอัจฉริยะร่วมกับระบบขนส่งมวลชนไปแล้ว บทความนี้ ผมจะนำเสนอเรื่องของรถอัจฉริยะต่อในอีกมุมหนึ่ง นั่นคือ...

  • Mobile-2.0
  • CHATBOT
    ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็นภาษาสากลในอนาคต

    ว่าด้วยเรื่องของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เมื่อกฎขึ้นมาในวงสนทนาเมื่อไร มักจะถูกคนทั่วไปมองหน้าเอาว่า นี่มันคือพวกเนิร์ด (Nerd) หรือกี๊ก (Geek) บ้าคอมฯ และพูดอะไรเข้าใจอยากแบบมนุษย์ต่างดาวแน่นอน ไม่ต้องแปลกใจครับ หลายคนมักเข้าใจว่าภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นเป็นภาษาที่คนทั่วไปไม่น่าจะเข้าใจได้ง่าย...

  • future-smart-car
    รถอัจฉริยะกับสังคมในอนาคต

    แท็กซี่ไร้คนขับ ที่มารับ-ส่งผู้โดยสารตามคำร้องขอผ่านแอพพลิเคชั่น รถอัจฉริยะหรือรถขับขี่อัตโนมัติ (Self-Driving Car) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจและผลักดันจากหลายฝ่าย ทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี การมาถึงของรถอัจฉริยะนั้นอาจสร้างความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน...