Octember ปั้นธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นบนอินสตาแกรม

เมื่อคู่สามี-ภรรยาข้าวใหม่ปลามัน ภรณ์ฤดี โฆษิตพล และศาสตรา อัจนามนัสสิริ สร้างความสำเร็จจากการขายเสื้อผ้าแฟชั่นผ่าน Instagram การันตีด้วยยอดคนติดตามกว่า 14,600 คนในไม่กี่เดือน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำหรับแบรนด์ “Octember”

ภรณ์ฤดี โฆษิตพล และศาสตรา อัจนามนัสสิริ

ก้าวแรกของ ธุรกิจออนไลน์
เมื่อ 2 ปีที่ก่อน ภรณ์ฤดี เริ่มจากนำเสื้อผ้ามือสองของตนมาขายบนอินสตาแกรม ผลปรากฏว่าได้รับการตอบรับดีมาก จึงกลายเป็นตัวจุดประกายให้นำเสื้อผ้าแฟชั่นมาขายบนช่องทางนี้ ซึ่งระยะแรกมีการลองผิดลองถูกอยู่นาน เพราะต้องสั่งสินค้าจากโรงงานในต่างประเทศมาทดสอบคุณภาพก่อน เพื่อดูว่าสินค้าที่ได้รับมาตรงตามภาพในเว็บฯ หรือไม่ เรียกได้ว่าสั่งมาจาก 20 โรงงาน แต่ใช้ได้จริงๆ แค่ 3-4 โรงงาน

“เราเข้ามาอยู่ในตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นในช่วงที่มีคู่แข่งในตลาดเยอะแล้ว ดังนั้นเราจึงตั้งใจจะสร้างแบรนด์ที่มีสินค้าคุณภาพดี ใช้ได้นาน ซักแล้วไม่หดหรือเปื่อยยุ่ย เพราะเราสองคนเชื่อผู้บริโภคปัจจุบันมีตัวเลือกมาก หากสินค้าของเราไม่เหมาะสมกับราคา พวกเขาจะซื้อเพียงครั้งเดียว และไม่กลับมาซื้อซ้ำอีก”

ศาสตรา กล่าวว่า ธีมของร้านจะเน้นเสื้อผ้าคุณภาพดี สไตล์เรียบง่าย สามารถนำไปมิกซ์แอนด์แม็ตกับเสื้อผ้าอื่นได้ ด้วยเสื้อผ้าที่คัดมามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในระยะหลังสินค้าที่ได้รับความนิยมมากคือ เสื้อโค้ทสำหรับใส่ในต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งสินค้าพร้อมส่งและสินค้าพรีออเดอร์

IMG_0572

โดดเด่นที่บริการ เพื่อเพิ่มความพึงพอใจ
แน่นอนว่าธุรกิจทุกรูปแบบต้องมีอุปสรรค ประกอบกับพวกเขาเปิดร้านในช่วงที่มีคู่แข่งอยู่เต็มตลาด ดังนั้นสิ่งที่พวกเข้าต้องทำคือ หาความแตกต่างให้แก่สินค้าและบริการของตน

ภรณ์ฤดี เล่าต่ออีกว่า สิ่งที่ยากที่สุดในการเปิดร้านขายของออนไลน์คือ การบริการลูกค้า เมื่อลูกค้าไลน์มา หมายความว่าเขาต้องการคำตอบทันที หากยิ่งช้ายิ่งหมายความว่าเราสูญเสียโอกาสในการขายเพิ่มขึ้น ดังนั้น เธอจึงเช็กไลน์ทุกชั่วโมง พร้อมเป็นที่ปรึกษาด้านการแต่งตัวให้ลูกค้าไปพร้อมๆ กัน เพื่อแนะนำสินค้าที่เหมาะกับบุคลิกของลูกค้าโดยไม่มีการนำเสนอสินค้าที่ลูกค้าไม่เต็มใจ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด ทำให้เกิดการบอกต่อแบบปากต่อปาก นอกจากนั้นยังมีการออกร้านตามอีเวนต์ป๊อปอัพสโตร์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือด้วย

photo 2

IG : Octember

IG : Octember

IG : Octember

 

ทางเราจะ คอยถามลูกค้าถึงสินค้าที่ได้รับไปว่าชอบหรือไม่ เรื่องเล็กๆ พวกนี้จะทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ อีกทั้งเรายังเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า

เผยเคล็ดลับการตลาด
พวกเขาใช้อินสตาแกรมเป็นช่องทางแรกและช่องทางหลักในการขาย เพราะสามารถลงได้ทั้งรูปและข้อความประกอบการขายได้ง่ายกว่าช่องทางอื่น โดยจุดเด่นของร้านคือ ใช้นางแบบเพียงคนเดียวถ่ายกับสินค้าจริงทั้งหมด เพื่อสร้างตัวตนในอินสตาแกรมให้เกิดการรับรู้เมื่อมีการพูดถึงและบอกต่อของ ผู้บริโภค เปรียบเสมือนการสร้างแบรนด์ในระยาว เพราะไม่ว่าจะเห็นรูปของร้านที่ไหนก็จะจำได้ว่ามาจากแบรนด์ Octember

e196

ฉบับที่ 196 เดือนเมษายน

ซื้อ-ขายใน AEC+6 ด้วยโมบายล์

ในช่วงแรกของการเปิดร้าน ทั้งคู่ได้ลองใช้เน็ตไอดอลรีวิวสินค้าในอินสตาแกรมเพื่อขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เขาทั้งสองคนสามารถเปลี่ยนลูกค้าขาจรมาเป็นลูกค้าประจำได้ถึงทุกวันนี้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ถือว่าน่าพึงพอใจมาก ส่วนระยะหลังจะเป็นการรีวิวจากลูกค้าจริง ยกตัวอย่างลูกค้าที่ซื้อเสื้อโค้ทไป เมื่อพวกเขาอัพโหลดรูปลงอินสตาแกรมมักจะรีวิวให้ในอินสตาแกรมส่วนตัวพร้อมแท็กกลับมายังร้าน

IMG_0634

สร้างความพร้อมต่อยอดสู่อนาคต
ภรณ์ฤดี ทิ้งท้ายว่า ร้านค้าออนไลน์ควรมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า เพราะลูกค้าไม่ได้เห็นสินค้าจริง เราจึงต้องพร้อมเป็นตาให้ลูกค้า สำหรับร้านของเราหากสินค้ามีตำหนิเพียงนิดเดียวก็จะไม่ขาย การบริการก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะบริการหลังการขาย ทางเราจะคอยถามลูกค้าถึงสินค้าที่ได้รับไปว่าชอบหรือไม่ เรื่องเล็กๆ พวกนี้จะทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ อีกทั้งเรายังเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า เพื่อที่จะเติบโตไปในธุรกิจสายนี้อย่างมั่นคง

ในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากจะแตกไลน์สินค้าจำพวกที่นำไปใช้ต่างประเทศ อาทิ หมวก ผ้าพันคอ เลกกิ้ง และถุงน่อง ทั้ง 2 คนวางแผนจะเดินทางไปดูโรงงานผลิตในต่างประเทศโดยตรง เพื่อเลือกสินค้าเข้ามาขายในปริมาณเพิ่มขึ้น พร้อมเปิดรับตัวแทนจำหน่ายหรือเปิดขายในราคาส่ง ซึ่งเชื่อได้เลยว่าพวกเขาจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

Co working space สำหรับสตาร์ทอัพ แหล่งเรียนรู้งานพิมพ์ดิจิทัล ใช้งานฟรี

จะเห็นว่าขณะนี้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามกระแสดิจิทัล มีความต้องการสินค้าที่เจาะจงมากขึ้น มีเอกลักษณ์ในแบบของตนเอง ธุรกิจเองก็ต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อความต้องการดังกล่าวให้มากขึ้นกว่าเดิม หนึ่งธุรกิจที่เริ่มเปลี่ยนให้เห็นบ้างแล้ว...