ทำความรู้จัก Webometrics Ranking สำหรับจัดอันดับสถาบันการศึกษาทั่วโลก

ณ เวลานี้ต้องขอยอมรับว่าเว็บไซต์ยังคงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์ของทุกสรรพสิ่งที่เราต้องการสร้างมูลค่า เว็บไซต์ที่ประสบความสำเร็จในแง่ของการกระจายความรู้ และแหล่งข้อมูลที่ยอดเยี่ยมได้นั้น ต้องมีแหล่งข้อมูลที่มีคุณภาพ ที่เรารู้จักกันดีว่า “เนื้อหา” (Content) ของเว็บไซต์ที่มีการนำเสนอที่หลากหลาย ผสมรวมกับสื่อทุกรูปแบบ เช่น รูปภาพ วิดีโอ หรือไฟล์เสียง Audio Streaming (สำหรับมาตรฐาน Web Accessibility เพื่อคนพิการ[1]) จึงมีความสำคัญยิ่งในยุคที่สารสนเทศในรูปแบบดิจิทัลเป็นใหญ่ในปัจจุบัน และก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายจากผู้ใช้ทุกรูปแบบ

MTK2-1

Webometrics โดยยึดเกณฑ์ในการจัดอันดับทุกๆ เดือนมกราคม และกรกฎาคม ของทุกปี เป็นระยะเวลาเบ็ดเสร็จทั้งสิ้น  7 เดือน ใกล้เคียงกับการทำ SEO การตลาดที่ใช้เวลา 6 เดือน ในการปรับ On-Page Optimization หน้าเว็บไซต์ แล้วจึงทำการเพิ่ม Link Popularities ภายหลังในครึ่งปี

การทำการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) ในเวลานี้นอกจากเว็บไซต์ตามศาสตร์ของ Inbound Marketing ได้ระบุไว้เราจะเห็นว่า เว็บไซต์และเนื้อหาเป็นเครื่องมือ และกลยุทธ์ส่วนแรกเริ่มที่เราต้องให้ความสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ผ่านกระบวนการค้นหา หรือการทำ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งการแข่งขันส่วนนี้เราจะเห็นการพูดถึงและปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อได้ “อันดับ” ของผลลัพธ์การค้นหา เพื่อสร้างกำไรและยอดขายในแวดวงของธุรกิจและบริการ แน่นอนว่า ในส่วนของแวดวงการศึกษาและวิชาการนั้น เว็บไซต์สถาบันการศึกษา หรือมหาวิทยาลัยทั่วโลกก็มีกระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพผ่านตัวชี้วัดในเรื่องของการจัดอันดับสถาบันการศึกษาผ่านเกณฑ์ของ Webometrics เป็นเวลามานานสักระยะ

แต่ไม่นานมานี้ เมื่อโลกเข้าสู่ยุคของดิจิทัลเต็มตัว แวดวงการศึกษาไทยจึงต้องตื่นตัว และหันมาแข่งขันในเรื่องของอันดับเว็บไซต์สถาบันกันอีกครั้ง เพราะยุคที่เปลี่ยนผ่านของผู้บริโภคและเทคโนโลยีที่กว้างและเข้าถึงง่ายขึ้น การศึกษานั้นก็เปรียบเสมือนกระบวนการทางธุรกิจรูปแบบหนึ่งเพียงแค่เป็นการผลิตบุคลากรที่ “ลูกค้า” (ธุรกิจ) ต้องตัดสินใจซื้อสินค้า (บุคลากร) ที่มีคุณภาพ และตรงความต้องการ โดยมีแบรนด์สินค้า (สถาบัน) เป็นสิ่งที่การันตีคุณภาพเหล่านั้น การปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์เพื่ออันดับที่ดีบน Webometrics ก็เปรียบเสมือนการทำ Search Engine Marketing บนกลยุทธ์ Inbound Marketing รูปแบบหนึ่งเช่นกัน เพื่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อแบรนด์สินค้า หรือชื่อสถาบันการศึกษานั่นเอง

ทำไมต้องเว็บไซต์ เพราะมันยังสำคัญอยู่
แม้ว่าคอนเทนต์ หรือเนื้อหาบนเว็บไซต์นั้นจะมีสัดส่วนการเข้าถึงที่ถูกแบ่งออกไปผ่านช่องทางของแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนตามที่เมื่อปี 2010 ในหัวข้อที่ Chris Anderson และ Michael Wolff ได้ถกเถียงกันผ่านหัวเรื่อง “The Web is dead. Long live the Internet.”[2] บนนิตยสาร Wired จนเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันขนานใหญ่ ณ เวลานั้นเกี่ยวกับแนวคิดที่ว่า ความสำคัญของเนื้อหายังคงมีอยู่แค่ช่องทางการเข้าถึงเนื้อหา คอนเทนต์นั้นกลับเป็นแอพพลิเคชั่น แต่พอเวลาผ่านไปเราก็ทราบดีว่า “เวลาเปลี่ยนสิ่งที่คาดการณ์ไว้ก็เปลี่ยน” เพราะสุดท้ายแล้ว แม้ว่าแอพพลิเคชั่นจะสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลอย่างไร แต่ถ้าปราศจากเว็บไซต์ที่เป็นสถานที่กระจายข้อมูลจริงๆ แอพพลิเคชั่นก็ไม่สามารถนำข้อมูลมาเสนอแก่ผู้ใช้งานได้ ดังนั้น ก็จะทราบดีว่าเทคโนโลยีเว็บไซต์ยังคงอยู่ต่อเนื่องไปอีกยาวนาน และยังเป็นแหล่งสำคัญที่ไม่ว่ายังไงเสียก็ตาม ผู้บริโภคก็ยังคงวิ่งหาข้อมูลเพื่อการสืบค้นความรู้มากมายบนโลกยุคดิจิทัลใบนี้

Webometrics คืออะไร
แต่เดิมนั้น Internet Lab กลุ่มวิจัยในสังกัดของ CINDOC (The Centre for Scientific Information and Documentation) และ CSIC (Spanish National Research Council)  กรุงมาดริด ประเทศสเปน ได้ดำเนินการวิจัย และรวมรวบข้อมูลโดยมีหัวหอกคือ Isidro F. Aguillo นักวิจัยหัวหน้าโครงการ ได้วางหัวข้อ “Ranking Web of World Universities” ขึ้นในปี 2004 โดยใช้รูปแบบการสืบค้น เก็บข้อมูลหลายๆ ส่วนของเว็บไซต์สถาบันการศึกษาทั่วโลกมาจัดอันดับไว้ในที่เดียวกัน

ซึ่งภายหลังก็เรียกชื่อโครงการว่า “Webometrics Ranking of World Universities” โดยที่ Webometrics นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาจากหลักการและแนวคิดที่ว่า ข้อมูล สารสนเทศ หรือคอนเทนต์ ที่เป็นเนื้อหาด้านวิชาการบนเว็บไซต์ ที่อยู่ในรูปแบบของ Web Publications หรือ Digital Publications นั้นจะมีผลลัพธ์ในการเข้าถึง และกระจายตัวที่สร้างประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้มากกว่ารูปแบบดั้งเดิม หรือสิ่งตีพิมพ์ (Publications, Traditional Publications) ปัจจัยดังกล่าวจะได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าเอกสารทางวิชาการที่อยู่ในรูปแบบ Digital Publications เหล่านั้นมีการอ้างอิงงานวิจัย และยังมีการติดอันดับของ Google Scholar (https://scholar.google.co.th/) จะเป็นคะแนนที่ช่วยให้อันดับของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยได้อันดับที่สูงขึ้นอีกด้วย

จากแนวคิดข้างต้นที่ว่า เว็บไซต์เป็นแหล่งเผยแพร่สารสนเทศ และข้อมูลวิชาการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก Webometrics จึงใช้หลักการในการวัดประสิทธิภาพ และกระบวนการสืบค้นเพื่อเก็บดัชนีของข้อมูลเหมือนที่ Search Engine ทำงาน จากปริมาณเนื้อหาของเว็บไซต์ (Content) โครงสร้างเว็บไซต์ที่ตรงตามสถาปัตยกรรมเว็บ (Web Structure and Architecture) ช่องทางการเข้าถึงเนื้อหาเว็บไซต์ (Internal Links) และปริมาณการเชื่อมโยง Links จากเว็บไซต์ภายนอก (Inbound Links) มายังเว็บไซต์เพื่อสืบค้นข้อมูล หรืออ้างอิงเอกสารวิชาการ (Site Citations) ที่อยู่ในรูป Digital Publications เพื่อจับเป็นคะแนนมาบันทึกไว้ในระบบด้วยฐานข้อมูลขนาดใหญ่

ถ้าหากดูผิวเผินแล้วกระบวนการในการเพิ่มประสิทธิภาพ (Optimization) ของ Webometrics สำหรับเว็บไซต์สถาบันการศึกษานั้นก็คล้ายคลึงกับกระบวนการทำ Search Engine Optimization (SEO) ให้กับเว็บไซต์ในภาคธุรกิจทั่วไปในแง่การสร้าง Awareness ของการทำ BackLink เพื่อสร้าง Links Popularities จากเว็บไซต์ที่มี Page Rank หรือ PR Score สูงๆ มาเพิ่มคะแนน Website  Impact Factor ของเว็บไซต์ให้สูงขึ้น จนมีผลต่ออันดับที่ดีบนเครื่องมือค้นหา หรือ Search Engine

e203

ฉบับที่ 203 เดือนพฤศจิกายน

FinTech อนาคตโลกการเงิน

สำหรับ Webometrics ก็เช่นเดียวกัน Website Impact Factor ที่มีผลส่วนใหญ่นั้นมาจากปริมาณเนื้อหาที่มีประโยชน์ และมีความหมายในบริบทของมัน พร้อมกับ Meta Data (ข้อมูลที่ใช้กำกับและอธิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มของข้อมูลอื่น) บนเว็บไซต์มีเพียงพอที่จะช่วยเหลือให้การสืบค้นข้อมูลเป็นไปได้ง่าย ตรงความคาดหวังของผู้ค้นหา อีกทั้งข้อมูลของเอกสารวิชาการที่อยู่ในรูป Digital Publications นั้นต้องสามารถเข้าถึง และถูกอ้างได้ง่าย อีกทั้งต้องตรงประเด็นตามหัวข้อการศึกษาในศาสตร์นั้นๆ

โดยระบบการวิเคราะห์ของ Webometrics นั้น จะใช้วิธีการเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อให้คะแนนของ Website Impact Factor ที่มีผลต่ออันดับของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยดีขึ้น รูปแบบกระบวนการในการเปรียบเทียบข้อมูลดังกล่าวนั้นมีการประยุกต์ใช้มาจากรูปแบบของ Journal Impact Factor (JIF) บนฐานข้อมูลของ Thomson’s ISI Journal Citation Reports (JCR)  ซึ่งจัดทำโดย Institute Scientific Information (ISI) มาตั้งแต่ปี 1975 เป็นการวัดค่าความถี่ของผู้ใช้งานในการอ้างอิง (Cite)[3] บทความวารสารออนไลน์ โดยมีเกณฑ์การวัดผลรายปีในการนำข้อมูลมาอัพเดตเพื่อเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มคะแนนอันดับของมหาวิทยาลัยให้อยู่ในตำแหน่งที่สูงหรือลดลง ซึ่งนั่นก็อยู่ที่การปรับแต่งประสิทธิภาพของเว็บไซต์ เนื้อหา MetaData และผลงานวิชาการที่อยู่ในรูปแบบ Digital Publications นั่นเอง

MTK2-2

Webometrics เป็นการวัดผลในเรื่องของ “ความถี่” ของการผลิตผลงานวิชาการในรูปแบบ Digital Publications ในแง่ของการอ้างอิงกระจายตัวบนอินเทอร์เน็ต และการเป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้ผู้ใช้งาน หรือนักวิจัยเข้าถึงข้อมูล (Open Access Initiatives) ของเว็บไซต์สถาบันการศึกษา

ช่วงเวลาในการอัพเดตการให้คะแนน เพื่อจัดอันดับของ Webometrics
ช่วงเวลาในการอัพเดตข้อมูลของ Webometrics นั้น มีการตั้งเกณฑ์ในการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ตั้งแต่ปี 2004 มาจนถึงปัจจุบันโดยยึดเกณฑ์ในการจัดอันดับทุกๆ เดือนมกราคม และกรกฎาคม ของทุกปี เป็นระยะเวลาเบ็ดเสร็จทั้งสิ้น  7 เดือน ใกล้เคียงกับการทำ SEO การตลาดที่ใช้เวลา 6 เดือน ในการปรับ On-Page Optimization หน้าเว็บไซต์ แล้วจึงทำการเพิ่ม Link Popularities ภายหลังในครึ่งปีเริ่มตั้งแต่เดือนที่ 7 ไปจนถึงเดือน 12 เพื่อเพิ่ม Ranking บนเครื่องมือค้นหา Google

แต่สำหรับ Webometrics นั้นกลับตรงกันข้าม การวัดผลเพื่อจัดอันดับเว็บไซต์สถาบันการศึกษา หรือมหาวิทยาลัยที่ต้องวัดผลในทุกเดือนมกราคม และกรกฎาคมของทุกปีนั้นไม่ใช่เพื่อให้ผู้ดูแลเว็บไซต์ หรือคนทำเนื้อหาต้องวางแผนในการปรับการแสดงผลของเว็บไซต์ เพื่อการปรับประสิทธิภาพของเว็บไซต์แต่อย่างใด การจัดการอัพเดตอันดับของเดือนดังกล่าวข้างต้นนั้น เป็นการวัดผลในเรื่องของ “ความถี่” ของการผลิตผลงานวิชาการในรูปแบบ Digital Publications ในแง่ของการอ้างอิงกระจายตัวบนอินเทอร์เน็ต และการเป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้ผู้ใช้งาน หรือนักวิจัยเข้าถึงข้อมูล (Open Access Initiatives) ของเว็บไซต์สถาบันการศึกษา จากคนที่สนใจในเรื่องของวิชาการที่ปรากฏในรูปแบบสื่อดิจิทัลบนเว็บไซต์นั่นเอง

แนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ของ สถาบันการศึกษาให้รองรับ ปัจจัยการให้อันดับของ Webometrics
การปรับประสิทธิภาพของเว็บไซต์ หรือการทำ Website Optimization สำหรับเว็บฯ สถาบันการศึกษานั้น มีหลักการที่ใกล้เคียงกับการทำ SEO อยู่ประมาณหนึ่ง ในส่วนของโครงสร้างเว็บไซต์ที่เป็นภาษา HTML เบื้องต้น หรือ Dynamic WebPage ที่ต้องพัฒนาด้วยภาษาโปรแกรม ซึ่งนั่นก็เป็นการที่เราจะต้องมีความรู้ในเรื่องของการปรับประสิทธิภาพเพื่อนำไปบอกให้กับทีมพัฒนาเว็บไซต์ และผู้ดูแลเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ เช่น ข่าวสาร ทุนการศึกษา และการทำสารบัญ เอกสารทางวิชาการในรูปแบบดิจิทัลให้เข้าถึงได้ง่ายบนหน้าจอเว็บไซต์

ก่อนที่จะเข้าแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์สถาบันการศึกษาให้รองรับ Webometrics เราต้องรู้ไว้ว่า รูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา และสื่อดิจิทัลต่างๆ ที่ปรากฏบนเว็บไซต์ เช่น เอกสารวิชาการ บทความวิจัย ที่แสดงถึงการค้นคว้าเกี่ยวกับองค์ความรู้ใหม่ที่อยู่ในรูปแบบสื่อ Digital Publications จะเป็นตัวชี้วัดคะแนน Website Impact Factor ได้ดีที่สุด ให้ผู้ใช้งานเข้าถึงได้ง่าย (Open Access Initiatives) และตรวจสอบได้ถึงที่มาที่ไปขององค์ความรู้นั้นให้เกิดมูลค่าของเนื้องานและความรู้ ซึ่งมีผลไปถึงอันดับของเว็บไซต์สถาบันการศึกษา หรือมหาวิทยาลัย ในอันดับที่ดี ก็ยิ่งจะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือในชื่อของสถาบันการศึกษา และบุคลากรในสถาบันนั้นให้มีความน่าเชื่อถือไปด้วยในตัว

การปรับปรุงเว็บไซต์

    1. Single Domain : ชื่อโดเมนที่ลงท้ายด้วย .edu หรือในประเทศไทยก็จะเป็น .ac.th นั้นควรจะมีชื่อโดเมนที่เป็น Single Domain นั่นหมายความว่า Sub Domain ที่หลายๆ มหาวิทยาลัยนิยมใช้กันนั้นให้ลืมไปได้เลย เพราะการนำมาคิดวิเคราะห์คะแนนนั้นระบบจะมองว่าเป็นคนละเว็บไซต์ทันที
      ตัวอย่างเช่น โดเมน http://library.someuniversity.ac.th นั้นจะถูกมองว่าโดเมน URL ดังกล่าวเป็นคนละเว็บไซต์กับ www.someuniversity.ac.th ทันที ดังนั้นหากต้องการแยกหน่วยงาน หรือระบบของเว็บไซต์ควรปรับเปลี่ยนเป็น www.someuniversity.ac.th/library/ จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมกว่าเพราะจะได้คะแนนของชื่อโดเมนเดียวของสถาบันนั้นไปโดยปริยาย ซึ่งเป็นการทำ Institutional Domain ที่ถูกหลักการ[4]
    2. โครงสร้างของเว็บไซต์ ควรเป็น Web Technology ที่มีมาตรฐานตามกฎของ W3C ในปัจจุบัน นั่นคือรูปแบบที่เป็น HTML Standardหรือ HTML5 มีการออกแบบให้รองรับ Multiscreen หรือ Responsive Website ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายช่วยเหลือในการสร้างเว็บไซต์สำหรับการศึกษาให้ตรงมาตรฐานของ W3C ด้วย CMS หรือ Content Management System ที่หลากหลายเช่น WordPress, Joomla หรือหากมีเวลามากพอจะปรับปรุงด้วยการพัฒนาเองก็สามารถออกแบบ Front End Design จาก Google Material Design Website CSS หรือ Bootstrap ให้ทำการออกแบบเว็บไซต์ได้ลงตัว และมีมาตรฐานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
    3. ควรมีการติดตั้งเครื่องมือจำพวก Web Analytics อย่าง Google Analytics สำหรับตรวจสอบว่า เว็บไซต์มีการเข้าถึงจากผู้ใช้งานด้วย Keyword หรือคำค้นหาใด และ Traffics หรือจำนวนผู้เข้าชมนั้นมาจากแหล่งไหนมากที่สุด และนิยมเนื้อหาส่วนใดในเว็บไซต์
    4. ปรับปรุงส่วนของ Metadata ของเว็บไซต์ให้ทั้ง รูปภาพ สื่อ หน้าเว็บไซต์ ส่วนเหล่านี้ยังช่วยเหลือผู้พิการในการเข้าถึงข้อมูลด้วย
    5. เอกสารวิชาการ ที่อยู่ในรูปแบบ Digital Publications นั้นต้องมีการเข้าถึง และอ้างอิงได้ง่ายจากเว็บไซต์

เพียงแนวทางข้างต้น ก็สามารถที่จะปรับรูปแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ และเนื้อหาให้อยู่อย่างเหมาะสม ที่เหลือก็คือการพัฒนาโครงงานวิชาการ งานวิจัย ผลงานที่ทรงคุณค่าจากตัวบุคคลากร และการสนับสนุนจากส่วนกลางของสถาบันการศึกษาเหล่านั้นก็จะเป็นการสร้างสื่อดิจิทัล และเว็บไซต์สถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เตรียมพร้อมเข้าสู่การแข่งขันในสงครามการศึกษาที่ผู้เรียนนั้นเป็นผู้เลือก กลยุทธ์ และการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมในยุคที่การแข่งขันสูงลิ่ว แน่นอนว่าก็คงหนีไม่พ้นหากอยู่บนโลกดิจิทัล แม้กระทั่งสายงานวิชาการเอง

Contributor

banyapol2

บัญญพนต์ พูนสวัสดิ์

อาจารย์ประจำสาขาการออกแบบเชิงโต้ตอบและการพัฒนาเกม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,นักเทคโนโลยีการศึกษา ชำนาญการด้าน Blended Learning และ Game-Based Learning ควบตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท เดย์เดฟ จำกัด ที่ปรึกษาด้านธุรกิจดิจิทัลด้วยประสบการณ์ในสายงานมากกว่า 10 ปี

Facebook: banyapon

Website: www.daydev.com

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

CHATBOT
ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็นภาษาสากลในอนาคต

ว่าด้วยเรื่องของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เมื่อกฎขึ้นมาในวงสนทนาเมื่อไร มักจะถูกคนทั่วไปมองหน้าเอาว่า นี่มันคือพวกเนิร์ด (Nerd) หรือกี๊ก (Geek) บ้าคอมฯ และพูดอะไรเข้าใจอยากแบบมนุษย์ต่างดาวแน่นอน ไม่ต้องแปลกใจครับ หลายคนมักเข้าใจว่าภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นเป็นภาษาที่คนทั่วไปไม่น่าจะเข้าใจได้ง่าย...