อนาคต Digital Money ในระดับชาติ

ปี 2548 เอไอเอส เริ่มเปิดให้บริการธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ AIS mPAY และต่อยอดบริการรูปแบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น AIS mPAY Mastercard บัตรช้อปปิ้งบนโลกออนไลน์แบบเติมเงิน,  AIS mPAY Rabbit ซิมเดียวที่เปลี่ยนมือถือให้เป็นกระเป๋าสตางค์, Beat Banking เปลี่ยน e-Wallet เป็นบัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง

สุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด

สุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด

การขยับจาก Mobile Payment มาเป็น Digital Payment แล้วขยับจาก Digital Payment มาเป็น Digital Money คือมีบริการเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินมากกว่าแค่ mPAY

เมื่อทุกคนเริ่มขยับสู่ Digital Payment หนุนตลาดอีคอมเมิร์ซโต
สุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด ให้ข้อมูลถึงภาพรวมของตลาด Digital Money ว่าแต่ละธนาคารเริ่มเคลื่อนตัวเข้ามาในธุรกิจของ Digital Banking หรือ Digital Payment กันมากขึ้น ด้วยเหตุผลหลักที่เป็นเรื่องของอีคอมเมิร์ซ ในอดีตอีคอมเมิร์ซในเมืองไทยอาจจะยังไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก แต่ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตชัดมาก ประกอบด้วยปัจจัยทั้งลูกค้าเริ่มมีความเชื่อมั่น หรือระบบ Logistic ต่างๆ ในบ้านเราเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ เริ่มมีการเคลื่อนตัวของ Logistic ในภาคเอกชนหลายๆ ราย ไม่ว่าจะเป็น EMS, DHL ที่เป็นรายเดิม หรือว่าคอน-เซ็ปต์ของรายใหม่ๆ อย่าง Kerry ที่มีบริการ Drop Point พัสดุที่สถานีรถไฟฟ้านอกเหนือจากการส่งไปที่บ้าน ก็เรียกว่าตรงกับไลฟ์สไตล์ของคนในยุคปัจจุบัน

เมื่อความสะดวกตรงนี้เกิดขึ้น ร้านค้าออนไลน์รายใหญ่เห็นเทรนด์ก็เริ่มเข้ามา อย่างเช่น Central Online, Tesco Lotus Online ซึ่งเมื่อรายใหญ่เข้ามา ทำให้ตลาดที่เป็น SMEs หรือผู้ค้ารายเล็กๆ ได้ประโยชน์ไปด้วย ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น แต่เมื่อมองเข้าไปในตลาดของ Payment วิธีจ่ายเงินยังเป็นวิธีเก่าคือ Cash on Delivery (COD) และ Bank Transfer หรือโอนเงินด้วยบัญชีธนาคาร ซึ่งทุกคนก็เริ่มคิดว่าทำอย่างไรให้บริการเข้าไปตอบโจทย์ในเรื่องของ Digital Payment ได้มากขึ้น

จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นในการเป็น Digital Money for Everyone คือเริ่มขยับเข้ามาว่า ถ้าจะสร้างฐานเข้าไปในตลาดอีคอมเมิร์ซ ก็ต้องเริ่มต้นจากการเปิดกว้างให้ลูกค้าทุกๆ ค่ายเข้ามาใช้ได้ สอดคล้องกับยอดดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น mPAY กว่า 2 ล้านดาวน์โหลด แต่มีจำนวนผู้ลงทะเบียนเพียงแค่ประมาณ 1.5 ล้านคน ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นลูกค้าของค่ายอื่น และอีกเหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะไม่สามารถใส่ข้อมูลบางอย่างได้ เช่น เลขบัตรประชาชน ซึ่งต้องเป็นคนไทย หรือว่าเด็กที่ยังทำบัตรไม่ได้ก็อาจจะใช้งานไม่ได้

e202

ฉบับที่ 202 เดือนตุลาคม

Maker ผู้สร้างสินค้าด้วยเทคโนโลยี

เดินหน้ายกระดับ บริการ mPAY อย่างต่อเนื่อง
MD ของ mPAY เล่าต่ออีกว่า ภาพของ mPAY ลูกค้าเอาเงินมาใส่ไว้รวมกันเป็นหลักพันล้าน จะตอบสนองลูกค้าอย่างไรให้ลูกค้าสามารถที่จะโอนเงินไปที่ธนาคารได้ โอนเงินหากันเองได้ ส่วนหนึ่งก็เริ่มเกิดเป็นบริการเรื่องการโอนเงินจากเดิมที่เราไม่เคยบอกว่า mPAY คืออะไร เราก็บอกว่า Digital Money แปลว่า เราทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างครบถ้วน

การขยับจาก Mobile Payment มาเป็น Digital Payment แล้วขยับจาก Digital Payment มาเป็น Digital Money คือมีบริการเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินมากกว่าแค่ mPAY ที่เป็น Payment อยู่บนระบบ SMS, USSD ที่รองรับลูกค้าได้หลากหลายกลุ่ม แต่การใช้งานก็อาจจะยาก ก็เริ่มมีลูกค้าขยับจากสมัยแรกๆ จากหลักหมื่นขึ้นมาเป็นหลักแสน จนกระทั่งแตะตัวเลขได้ 1 ล้านคน ที่เริ่มทำแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนระบบ iOS และ Android ซึ่งตอนนั้นตลาดสมาร์ทโฟนกำลังเติบโตมาก

เราก้าวกระโดดเติบโตอย่างรวดเร็ว มูลค่าของการใช้งานผ่าน mPAY จาก 8,000-9,000 ล้านบาท ขึ้นมาเป็น 20,000 กว่าล้าน ในช่วงปี 2011 แล้ว ดับเบิลอีกทีในปี 2012 ขึ้นมาเป็นประมาณ 50,000 ล้านบาท ผู้ใช้ก็เพิ่ม Transection ก็เพิ่ม ด้วยโลกที่เป็นสมาร์ทโฟน ตอนนั้นปัจจัย 3 เรื่อง มาพร้อมกันหมด ตัวสมาร์ทโฟน เครือข่ายดีขึ้น ลูกค้าเริ่มยอมรับมากขึ้น

จนกระทั่งการขยับเข้าไปในตลาดของอีคอมเมิร์ซช่วงปี 2013 โดยออกตัวบริการ mPAY Mastercard โดยทำเป็นบัตรเดบิต ก็คือ ใส่เงินไว้ใน Wallet การที่เริ่มเปิดให้กับลูกค้าค่ายอื่น และการที่อีคอมเมิร์ซมาเร็วมาก จึงอยากจะเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซในรูปแบบอย่างอื่นด้วย ซึ่งปี 2014 ที่ผ่านมา ตัวเลขวงเงินใช้งานทั้งหมดผ่าน mPAY สูงถึง 72,000 ล้านบาท คาดว่าปีนี้น่าจะเป็น 80,000 ล้านบาท ปัจจุบันมียอด 7,000 กว่าล้านบาทต่อเดือน ถ้าปิดถึงปลายปีก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 84,000 หรือ 85,000 ล้านบาท

sp3-2

เสริมความแข็งแกร่งเปิดกว้างกับพาร์ตเนอร์ทุกราย
จุดแข็งของบริการ mPAY คือ มีร้านค้าที่เป็น Bill Payment มากที่สุด ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 200 กว่ารายการ โดยบิลที่เป็นบิลเล็กๆ ประเภทมีลูกค้า 20,000-30,000 รายนั้นยังไม่ได้ไปจับ ขณะที่แผนต่อไป อย่างโมเดลที่ทำร่วมกับธนาคาร CIMB ต้องบอกว่าวันนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่น กระบวนการเปิดบัญชี ที่ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารเท่านั้น ถึงแม้จะเปิดบัญชีได้ทั้งที่สาขาของธนาคาร และที่ Shop ของเอไอเอสเอง แต่ที่ Shop ของเอไอเอสก็จะเป็นพนักงานของธนาคารมายืนที่ Shop เพราะว่าพนักงานของเอไอเอสยังไม่มีสิทธิ์ที่จะทำ เนื่องจากกฎของธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่ได้อนุญาตให้เป็น Banking Agent ทำหน้าที่เปิดบัญชีแทน

ในเรื่องของ Digital Money ยังมีพื้นที่อีกเยอะมากที่จะทำด้วยกัน มี Business Model หรือมีเซอร์วิสตัวอื่นๆ อีกจำนวนมากที่คิดว่ามีความเป็นไปได้ ตลาดนี้เป็นตลาดที่เป็น Blue Ocean สิ่งที่แข่งขันด้วยคือ ทำอย่างไรให้สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินสดของลูกค้ามาใช้ Digital ตัวเลขจากธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าประมาณ  70 เปอร์เซ็นต์ ที่ยังใช้เป็นเงินสด แต่ถ้ามองที่ตลาดจริงๆ อาจจะสูงกว่านั้นถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ ก็เปลี่ยนพฤติกรรมตรงนี้จากเงินสดมาเป็นตัว Digital Money ซึ่งแค่นี้ตลาดก็ใหญ่พอสำหรับทุกคน

สู่ความเป็นหนึ่งของ Digital Money
สุปรีชา กล่าวถึง อนาคตของตลาด Digital Money ว่า คงไม่ได้มองกันแค่เรื่อง Payment แค่เรื่องเงินฝาก AEC กำลังเข้ามา หลายๆ ประเทศอาเซียนรวมกันเป็นหนึ่ง ประชากรเดินทางไปมาหาสู่กันได้ ทำงานร่วมกันได้ ทุกอย่างเปิดมากขึ้น รูปแบบการทำงานของเอไอเอสก็คงไม่เหมือนบางค่ายที่ไปมี Operation อยู่ในประเทศนั้นๆ แต่จะมีพาร์ตเนอร์ในประเทศเหล่านั้นมาทำงานร่วมกัน

เราก็พิจารณาว่ามีคนงานไทยที่ไปทำงานอยู่ในต่างประเทศมากมาย และมีคนงานต่างประเทศที่มาทำงานในประเทศไทย ทำอย่างไรที่จะให้ใช้เครื่องมือของ Digital Money ในเรื่องของการโอนเงิน

ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราอยู่ในระหว่างการศึกษาว่ามีความเป็นไปได้มากแค่ไหน ทั้งเรื่องกฎระเบียบ เรื่องของความน่าเชื่อถือ หรือเรื่องของพาร์ตเนอร์ที่เราอยากจะร่วมด้วย

พอพูดถึง Digital ต้องบอกว่าโฟกัสหลักก็คงอยู่บนมือถือ วันนี้ถ้าจะเป็น Digital Money Provider ในระดับชาติ ในระดับที่เรียกว่าแข็งแรงที่สุดในประเทศไทย ก็ต้องเปิดกว้างที่จะรองรับคนไทยทุกคน หรือว่าแม้กระทั่งคนต่างชาติทุกคนในที่อยู่ในแผ่นดินไทยตรงนี้

 

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

Jet.com ปรับใหญ่-สะท้อนเทรนด์เว็บช้อปปิ้งยุคนี้

เว็บช้อปปิ้ง Jet.com ปรับระบบใหม่ แสดงสินค้าต่างๆกันไปตามเมือง, ต่างกันไปตามหมวด เช่นหมวดเสื้อผ้าจะมีรูปและคลิปคนใส่จริง, และสับเปลี่ยนหน้าเว็บตามเวลากลางวัน-กลางคืนด้วย