National e-Payment กับการเปลี่ยนธุรกิจการเงิน


ธีรยุทธ์ สิริกุลวิริยะวาณิช ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงาน Digital Marketing บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ธีรยุทธ์ สิริกุลวิริยะวาณิช ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงาน Digital Marketing บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

และ วุฒิชัย เจริญผล ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงาน Information Technology บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

วุฒิชัย เจริญผล ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงาน Information Technology บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

 
National e-Payment นอกจาก Infrastructure ที่ถูกสร้างมาเพื่อซัพพอร์ตให้สามารถเชื่อมต่อกันได้เป็นแบบ Full Loop แล้ว ในทางกลับกันด้านประสบการณ์ในการใช้ที่ตั้งใจจะทำให้เป็น User Friendly ในด้าน Security ที่ไม่ต้องผูกบัญชีก็จะทำให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัยขึ้น

sp3-2

ธีรยุทธ์ สิริกุลวิริยะวาณิช ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงาน Digital Marketing บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ถ้ามองในเชิงธุรกิจ ระบบ e-Payment บนโมบายล์ อาจจะแบ่งได้ประมาณ 3 ประเภทใหญ่ๆ ซึ่งก็จะมีทั้งที่มาเมืองไทยและอาจจะยังไม่ได้มา โดยแบบที่ 1 คือ แบรนด์เจ้าของโมบายล์ สร้าง Native Wallet ให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Apple Pay หรือ Samsung Pay โดยอาจจะใช้กับเครื่องจ่ายเงินที่รองรับ หรืออาจจะเป็นอินเทอร์เฟซ อื่นๆ ที่ไม่ใช่เป็นโมบายล์ก็ได้แล้วแต่มุมมองของแต่ละ Provider แบบที่ 2 คือ การให้ Mobile Payment สามารถดำเนินการในตัวโมบายล์ได้เลย ซึ่งก็จะเห็นแอพพลิเคชั่นของธนาคารต่างๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการโอนเงิน การชำระค่าสาธารณูปโภค การชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ก็จะอยู่บนโมบายล์ ขณะที่ตัวคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ก็จะเป็น Mobile Version มากขึ้น เพราะจะทำให้คนสามารถทำการซื้อ-ขายได้ตลอดเวลา และในแบบที่ 3 ที่อาจจะยังไม่มาเมืองไทยที่เรียกว่า In-App Payments ก็คือ การที่ Transaction ฝังอยู่ในแอพพลิเคชั่นโดยที่อาจจะไม่ต้องใส่ข้อมูลหมายเลขบัตรหรือใดๆ ซึ่งก็จะทำให้ปลอดภัยมากขึ้นและสะดวกยิ่งขึ้น โดยจะไปลิงก์ข้อมูลที่อยู่ในโปรไฟล์ เพราะปัจจุบันถ้าจะชำระเงินยังต้องใส่ข้อมูลหมายเลขบัตร แต่ในส่วนนี้จะสะดวกมากขึ้นคือสามารถกด Pay ได้เลย

สมมติถ้าไม่มีระบบ e-Payment เราต้องไปธนาคาร เบิกเงินออกมาจำนวนหนึ่งใน Server X แล้วเราก็เอาจำนวน X นั้นไปใช้จ่าย เสร็จแล้วร้านค้าก็เอาจำนวน X ที่เราจ่ายไปนี้ฝากกลับไปที่แบงค์ มันจะมีขั้นตอน ซึ่งไม่ใช่ X เดียว มันจะเป็นหลายๆ X เพราะแต่ละคนก็มี X เป็นของตัวเอง ดังนั้น ทุกคนก็มี X1, X2, X3 ร้านค้าก็ต้องเอา X1, X2, X3 กลับเข้าไปฝาก ที่แบงค์เองก็มีค่าจัดเก็บ โดยระบบ Eco System ดังกล่าวนี้ไม่ค่อยเป็นผลดีในทุกๆ ส่วน แต่ถ้าเป็น National e-Payment ได้ ก็อาจจะเร็วขึ้น เป็นภาพรวมระบบที่เรามองว่า เกิดผลประโยชน์กับทุกคนคือ Business Model ที่ Success เพราะว่า Win-Win กับทุกคน ทั้งหมดก็สามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี

e209_1

ฉบับที่ 208 เดือนเมษายน

ตลาดวิดีโอคอนเทนต์ โอกาสของแบรนด์เล็ก

National e-Payment กับประโยชน์ของทุกฝ่าย
วุฒิชัย เจริญผล ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงาน Information Technology บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า e-Payment ในเมืองไทยได้เกิดมานานแล้ว ซึ่งอาจจะมีในเรื่องของนโยบายหรือปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงจัง แต่เมื่อรัฐบาลเริ่มมาโฟกัสเรื่องนี้ จึงทำให้เกิดความตื่นตัวกันค่อนข้างมาก ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพูดถึงการมุ่งไปที่ Cashless แทนการใช้เงินสด ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนในหลายๆ ด้านได้ ในขณะที่ก่อนจะประกาศถึง National e-Payment หลายๆ องค์กรธุรกิจการเงินมองในเรื่อง e-Payment อยู่แล้ว แต่เป็นลักษณะต่างคนต่างทำ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้หรือไม่นั้น อาจด้วยปัจจัยหลายๆ ด้าน ที่จะทำให้เกิดได้หรือไม่ได้ หรือจะเกิดเร็วหรือไม่เร็ว แต่ในแง่ของช่วงระยะเวลาสั้นๆ สามารถเกิดขึ้นเพียงอาจจะยังไม่เป็น Full Loop และเป็นอะไรที่คอนซูเมอร์ได้ประโยชน์มากกว่า เพราะว่าในส่วนของธนาคารมองว่าจะทำให้รายได้ลดลงจากค่าธรรมเนียม หรืออื่นๆ แล้วก็เป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิด ในเมื่อทุกคนมีมือถือก็อยากใช้มือถือนี้ทำอะไรหมดทุกอย่าง แต่ในขณะเดียวกันในอดีตที่ผ่านมาข้อมูลบนมือถือปลอดภัย แต่จริงๆ แล้ว อาจจะไม่ปลอดภัย เพราะการทำธุรกรรมบนมือถือมากขึ้นนั่นหมายความว่า ทุกคนเริ่มให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญมากขึ้น ซึ่งการที่จะทำ e-Payment โดยใช้โมบายล์หรือใช้อะไรก็ตาม ความปลอดภัยต้องมีมากขึ้นเรื่อยๆ

เทคโนโลยีของสมาร์ทโฟนก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญในการประยุกต์ใช้กับระบบ ว่าทำอย่างไรถึงจะดึงเอาฟีเจอร์ที่มีมาใช้ร่วมกันได้ แล้วให้เกิด Security เพิ่มขึ้น เพราะในเรื่องของการใส่เพียงแค่ Username และ Password อาจจะไม่ปลอดภัยพออีกต่อไป และอีกประเด็นหนึ่งคือ ถ้าคนมีการเข้าใช้งานหลายๆ อย่าง ก็ไม่สามารถจำ Password ของตัวเองได้ทั้งหมด ทั้งนี้ก็ต้องหาวิธีที่ดีที่สุด เพราะในกรณีอย่าง Samsung Pay ก็ใช้วิธียืนยันตัวตนของเจ้าของมือถือ โดยเทคโนโลยี Fingerprint ในการรักษาความปลอดภัย จึงเป็นทิศทางในอนาคตต่อไปด้วยแนวทางในรูปแบบนี้

sp3-3

National e-Payment น่าจะทำมาเพื่อทำให้ Local ต่างๆ ได้ประโยชน์มากกว่าต่างชาติ เพราะว่าด้วย Regulation หรือด้วย Process หลายๆ อย่าง ต่างชาติอาจจะมาแข่งไม่ได้ทีเดียว แต่ทีนี้ถ้าเกิดมองในเรื่องของต่างชาติที่จะเข้ามา กลับมองว่า พวกนี้เป็น Channel หนึ่งในการที่จะขยายออกไป

ทุกอย่างจะเป็นเรื่องง่าย เมื่อใช้ Gateway เดียวกัน
ถ้า National e-Payment เกิดขึ้น ฝั่งที่เป็นธนาคารก็จะยิ่งได้เปรียบ แต่ฝั่งธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารหรือ Non-Bank อาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง และความยุ่งยากลดลง ยกตัวอย่าง สมัยก่อนเวลาที่คนจะชำระเงินให้กับ KTC ทางฝั่ง KTC จะต้องเป็นคนติดต่อช่องทางในการรับชำระเอง เช่น ถ้าลูกค้ามีบัญชีของธนาคารกรุงเทพ และจะโอนเงินเข้ามาหา KTC ซึ่ง KTC จะต้องไปติดต่อกับธนาคารกรุงเทพ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วธนาคารกรุงเทพก็จะไม่รับชำระให้ แต่ถ้าเป็น National e-Payment จะทำให้ในเรื่องของธุรกรรมการโอนเงินลักษณะนี้เกิดขึ้นได้ง่ายโดยที่ KTC ไม่ต้องติดต่อกับธนาคารกรุงเทพ ลูกค้าสามารถโอนเงินเข้ามาได้ทันที เพราะทุกคนเชื่อมต่อเข้า National e-Payment หมด เชื่อมเข้าในตัว Gateway ตัวเดียวกัน ก็จะทำให้เรื่องการทำธุรกรรมที่ในอดีตมีแต่ความยุ่งยากเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

และในเทรนด์ของการทำตัว Payment จริงๆ แล้ว Social Payment มีมาก่อนหน้าที่จะมีตัว National e-Payment ที่สามารถทำผ่าน Social ต่างๆ โดยที่หลังบ้านก็จะไปลิงก์อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเมื่อ Infrastructure ทั้งหมดถูกเชื่อมต่อกันไปแล้ว บวกกับ Social Network ที่สามารถทำอะไรได้มากขึ้น ก็จะทำให้เกิดได้ง่ายขึ้น ถ้า Infrastructure ทั้งหมดสามารถซัพพอร์ตกับตัว National e-Payment ได้ ก็จะเป็นประโยชน์โดยรวม ทั้งในด้านประชาชนก็จะได้สะดวกสบายมากขึ้น ในภาคธุรกิจเกี่ยวกับการรับหรือโอนเงินก็จะทำได้ง่ายขึ้น ขณะที่รัฐเองก็จะสามารถลดต้นทุนได้ในเรื่องการผลิตหรือการจัดเก็บธนบัตรได้ และส่งเสริมการทำให้เกิด Cashless อย่างแท้จริง

บริษัทต่างชาติที่มาพร้อม การแข่นขันและโอกาส
สถาบันการเงินของไทยเองก็มี Innovation เช่นเดียวกัน และมีความเข้าใจในพฤติกรรมของคนไทยมากกว่า ซึ่งการมีข้อได้เปรียบคือ เมื่อเข้าใจผู้บริโภคก็จะสามารถทำอะไรเพื่อตอบโจทย์ได้ง่ายกว่าบริษัทต่างชาติที่เข้ามา แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า บริษัทต่างชาติที่เข้ามาก็จะเป็นการสร้างทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นก็จะอยู่ที่ว่าสามารถปรับและพัฒนาตัวเองเพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปได้มากน้องเพียงใด

National e-Payment น่าจะทำมาเพื่อทำให้ Local ต่างๆ ได้ประโยชน์มากกว่าต่างชาติ เพราะว่าด้วย Regulation หรือด้วย Process หลายๆ อย่าง ต่างชาติอาจจะมาแข่งไม่ได้ทีเดียว แต่ทีนี้ถ้าเกิดมองในเรื่องของต่างชาติที่จะเข้ามา กลับมองว่า พวกนี้เป็น Channel หนึ่งในการที่จะขยายออกไป เพราะว่าจริงๆ ทั้ง Apple Pay หรือ Samsung Pay ทุกแบงค์ก็มองตาเป็นมันกันอยู่ แล้ว ก็ในหลายๆ เรื่องมันคือเทรนด์ที่จะมา เนื่องจาก KTC เป็นบัตรเครดิต เพราะฉะนั้นการใช้เงิน และการใช้บัตรที่ไม่ได้มีข้อจำกัดอยู่แต่ในประเทศเท่านั้น

การมาของบริษัทต่างชาติจึงไม่ได้เป็นการแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะมองเป็นเรื่องของ พาร์ตเนอร์ คือมาด้วยการแข่งขันและก็มาด้วยโอกาส อยู่ที่มุมมองในการปรับตัว ซึ่งถ้าสามารถเปลี่ยนจากการแข่งขัน ไปเป็นการทำงานร่วมกันได้ก็น่าจะมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด เพราะฉะนั้น ข้อดีของการที่ต่างชาติเข้ามาคือ เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ตลาดมีความน่าสนใจมากขึ้น ทั้งผู้บริโภค องค์กร หรือร้านค้า ทั้งหมดจะมีความตื่นตัวมากขึ้น ก็จะสร้างผลดีให้กับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นกับเรื่องของ Transaction การเงินโดยองค์รวม

You may be interested in

Latest post from Facebook

Related Posts

Jet.com ปรับใหญ่-สะท้อนเทรนด์เว็บช้อปปิ้งยุคนี้

เว็บช้อปปิ้ง Jet.com ปรับระบบใหม่ แสดงสินค้าต่างๆกันไปตามเมือง, ต่างกันไปตามหมวด เช่นหมวดเสื้อผ้าจะมีรูปและคลิปคนใส่จริง, และสับเปลี่ยนหน้าเว็บตามเวลากลางวัน-กลางคืนด้วย