Innovation

จีนกวดขันแอพเรียกรถ คนขับต้องมีใบขับขี่และใบอนุญาตเพิ่มเติม

จีนออกกฏเพิ่มมาคุมแอพเรียกรถต่างๆ (ride hailing) โดยผู้ขับต้องมีทั้งใบขับขี่ของตัวเอง และใบอนุญาตรถยนต์เชิงพาณิชย์ของเมืองนั้นๆ

ทางการไทยจัดซื้อระบบตรวจใบหน้าบนโซเชียลและสื่อออนไลน์

กระทรวงดิจิตัลไทยจัดซื้อระบบ “ตรวจสอบเปรียบเทียบใบหน้าบุคคลบนสื่อสังคมออนไลน์” ตรวจสอบใบหน้าผู้โพสต์และผู้คอมเมนต์ในสื่อโซเชียลทุกชนิด เพื่อระบุตัวตนผู้คนจากรูปให้ได้แม้จะตั้งค่าเป็นส่วนตัวหรืออยู่ในกรุ๊ปต่างๆ

ประเทศไทย ติดเกณฑ์กลุ่มประเทศระยะเริ่มต้นในการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร

รายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก หรือ GCI ประจำปีของหัวเว่ย ได้แสดงข้อมูลการประเมินด้านการเชื่อมโยงสื่อสารของแต่ละประเทศ ทั้งมุมมองในระดับชาติและในเชิงธุรกิจ โดย สามารถแบ่ง GCI ออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน จาก เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร (ICT)  ได้ดังนี้

1.กลุ่มประเทศ Starter เป็นประเทศที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของการวางโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ที่เน้นไปที่การเพิ่มจัดสรรด้าน ICT เพื่อให้ผู้คนเข้าถึงเศรษฐกิจดิจิทัลยิ่งขึ้น ประเทศในกลุ่มนี้ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย บังกลาเทศ และปากีสถาน

2.กลุ่ม Adopter เป็นกลุ่มที่อัตราการเติบโตของ GDP ในประเทศมาจากโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ประเทศเหล่านี้เน้นการเพิ่มความต้องการด้าน ICT ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไปสู่ยุคดิจิทัล ประเทศในกลุ่มนี้ประกอบด้วย จีน มาเลเซีย และไทย

โดยประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 51 จากทั้งหมด 79 ประเทศ อยู่ในกลุ่มประเทศ Adopter ระยะเริ่มต้นด้านการพัฒนา ICT มีคะแนนโดดเด่นในด้านความครอบคลุมในการให้บริการเครือข่าย Mobile Broadband การให้บริการ 4G มีคะแนนเพิ่มขึ้น …

สร้างและเซ็นเอกสารออนไลน์ได้ฟรี หลังปีใหม่นี้

 

กฎหมายในประเทศไทย ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือการระบุตัวตนของเจ้าของลายเซ็น สามารถใช้ได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งข้อดีก็คือสามารถเซ็นและส่งเอกสารเวลาใดหรือที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องเปลืองกระดาษ สามารถใช้ในการยืนยันเรื่องสำคัญต่าง ๆ

และสำหรับประเทศไทย ก็มีเปิดตัวบริการระบบการสร้างเอกสาร และลายเซ็นออนไลน์ (Electronic Document & Signature)  โดยเป็นไปตามประกาศมาตรฐานของทาง สพธอ. การสร้างเอกสาร ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือการลากเม้าส์จากคอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาโดยบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทย

การใช้งานเริ่มจากการเข้าเว็บไซต์ https://creden.co เพื่อการยืนยันตัวตนกับระบบการยืนยันตัวตนทางออนไลน์ (eKYC) การระบุตัวตน (Identification) และพิสูจน์ตัวตน (Verification) ที่เมื่อมีการเซ็นเอกสารแล้ว จะมีการประทับรับรองเวลาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Timestamp) จากทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) เพื่อรับรองการมีอยู่ของเอกสาร และเอกสารถึงมือผู้รับแล้ว ณ วันเวลาที่ประทับตรา

สำหรับระบบยืนยันตัวตน (eKYC)  คือการยืนยันตัวตนผ่านบัตรประชาชน ด้านหน้า-หลัง การถ่ายรูปจากหน้า และการยืนยันตัวตนผ่าน VDO ภาพเคลื่อนไหว โดยให้ผู้ใช้งานพูดตามสคริป โดยจะมีการดูว่าคน ๆ นั้นมีการกระพริบตา การแสดงท่าทางหรือพูดตามสคริปตรงกับที่ต้องการหรือไม่ เพื่อนำมายืนยันตัวตนได้จริง

การสร้างและเซ็นเอกสารออนไลน์ (eSignature) …

ธนาคารนำ Big Data มาใช้พิจารณาดอกเบี้ยเฉพาะบุคคล

ในปัจจุบัน ธนาคารได้นำ Big Data มาประมวลผลพฤติกรรมและความสนใจของลูกค้าเพื่อสื่อสารกับลูกค้าแบบรายบุคคล โดยธนาคารจะนำข้อมูลอย่างเช่น สถานที่ วันเวลาของเดือน ความต้องการใช้เงินของลูกค้า มาประมวลผลความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ในแต่ละช่วงเวลาว่าลูกค้ากำลังใช้บริการฟีเจอร์ใด

โดยลูกค้าสามารถขอสินเชื่อเงินกู้และการแนะนำการลงทุนสำหรับลูกค้าแต่ละรายบุคคล ซึ่งธนาคารจะนำข้อมูลมาจาก Big Data และ AI มาวิเคราะห์ในการออกเงินกู้ นำมาวิเคราะห์ดอกเบี้ย ทำให้ได้ดอกเบี้ยสินเชื่อที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล รวมไปถึงหน้าแรกทำรายการภายในแอป ฯ ของลูกค้าแต่ละคนที่แตกต่างกัน โดยธนาคารใช้เทคโนโลยี AI ที่แนะนำว่าลูกค้าต้องการทำธุรกรรมอะไรบ่อยที่สุด

รวมไปถึงการยืนยันตัวตนที่ไม่ต้องไปที่ธนาคาร โดย Biometrics จะเป็นแบบใด สามารถติดตามต่อได้ในคลิป

โดยธนาคารไทยพาณิชย์ มีการนำเทคโนโลยี Big Data ในแอป ฯ  SCB EASY ซึ่งในปีหน้า จะเริ่มใช้ฟีเจอร์ดังกล่าว

สนามบินยุคใหม่ ที่มีระบบจดจำใบหน้าเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร

ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงรูปแบบความสะดวกสบายถูกนำมาใช้ในสนามบินที่มีขึ้นมาและสามารถใช้ได้จริงกับผู้โดยสารแล้ว

เริ่มต้นด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยการระบุหาตำแหน่ง และติดตามผู้โดยสารที่อยู่ในห้องบริการผู้โดยสาร โดยเทคโนโลยีนี้ทำให้สามารถส่งระบบเตือนให้ขึ้นเครื่องบินแก่ผู้โดยสารแต่ละราย ด้วยฐานข้อมูลภาพใบหน้า และอัลกอริทึมการจดจำใบหน้า และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

การดูรอบ FIDS ที่แสดงเพียงแค่ของตน จอภาพจะสแกนใบหน้าของผู้โดยสารเพียง ระบบจะระบุว่าผู้โดยสารคือใคร จากระบบการจดจำใบหน้า หน้าจอ FIDS ก็จะแสดงข้อมูลเที่ยวบิน และตำแหน่งปัจจุบันของผู้โดยสาร รวมทั้งแจ้งเส้นทางที่เร็วที่สุดที่จะไปยังประตูขึ้นเครื่อง

โดยทั้ง 2 สิ่งนี้ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยระบบจดจำใบหน้าแบบ End-to-End ด้วยระบบกล้องวงจรปิดที่มีภาพคมชัดแบบ HD ในการทำงาน

ผู้โดยสารจะไม่มีปัญหาในการขึ้นรถชัตเติลบัสเพื่อไปยังหลุมจอดที่อยู่ไกล ด้วยแพลตฟอร์ม Big Data ด้วยระบบจัดสรรหลุมจอดแบบอัตโนมัติ ที่จะช่วยจัดสรรหลุมจอด ด้วยการปรับปรุงข้อมูลการจัดสรรหลุมจอดแบบพลวัต สะพานเทียบเครื่องบิน และหลุมจอดระยะใกล้ให้แก่เที่ยวบินกว่า 1,000 เที่ยวได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที

ช่วยให้แผนกบริหารจัดการสนามบินสามารถบริหารจัดการและจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ไม่ใช้ไฟฟ้า ที่ใช้เทคโนโลยี IoT ในระบบไฟส่องสว่างสนามบิน แก้ไขปัญหาไฟสนามบินแบบเดิมที่ไม่สามารถเฝ้าสังเกต และควบคุมแบบเรียลไทม์ ช่วยลดต้นทุนการตรวจสอบด้วยมือได้กว่า 10,000 ชั่วโมงแรงงาน/ปี เครื่องบินสามารถใช้ไฟส่องสว่างลานบินแบบที่มีการเฝ้าระวังด้วยระบบอัตโนมัติ ระบบนี้ยังสามารถแสดงเส้นทางในอดีต และตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์แบบไม่ใช้ไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์

ซึ่งนวัตกรรมที่พัฒนาในสนามบินนี้เป็นการร่วมมือของแผนกสนามบินของ CAAC, TravelSky, มหาวิทยาลัยการบินพลเรือนแห่งประเทศจีน และหัวเว่ย

เพิ่มความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารแท็กซี่ ด้วยการแจ้งเตือนภัยผ่านแอป ฯ

ทุกคนคงอาจจะเคยได้ยินข่าวของผู้โดยสารแท็กซี่ ลวนลาม หรือทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอื่น ๆ กับผู้โดยสารอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ผู้โดยสารโดยเฉพาะผู้หญิงมีความกลัวหรือหวาดระแวงที่จะต้องขึ้นรถแท็กซี่คนเดียว หรือในช่วงเวลากลางคืน

หรือจากข่าวที่ออกมาทุกวัน ในเรื่องของอุบัติเหตุ ที่รถโดยสารประจำทาง จนไปถึงรถจักรยานยนต์ที่ออกมา หากมีการนำเทคโนโลยีนำมาใช้ คงจะลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น โดยมีเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจริงแล้ว

ตอนนี้มีแอปพลิเคชั่นที่มีฟีเจอร์สำหรับแจ้งเตือนเวลาขึ้นรถโดยสาร รถแท็กซี่แล้ว โดยสามารถขอความช่วยเหลือทันท่วงที ด้วยปุ่มแจ้งเตือนฉุกเฉิน (Emergency SOS) หากเกิดเหตุการณ์หรือกรณีที่ไม่น่าไว้วางใจมีการ การตรวจสอบประวัติผู้ขับขี่ที่มากขึ้น และการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และบัญชีพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ที่ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน

ผู้ขับขี่สามารถรู้ถึงพฤติกรรมการขับขี่ของตนเองได้ โดยระบบจะตรวจสอบความเหนื่อยล้าในการขับขี่ของผู้ขับขี่ (Driver Fatigue Monitoring System) โดยจะส่งข้อความเตือนและแนะนำให้พัก หากผู้ขับขี่มีการรับงานติดต่อนานเกินกำหนด นอกจากนี้ผู้ขับขี่ยังจะได้รับรายงานพฤติกรรมการขับขี่จากระบบเทเลมาติกส์ (Telematics) ซึ่งบอกพฤติกรรมการเร่งความเร็ว การเบรค และฟีเจอร์แชร์มายไรด์  (Share My Ride) สามารถแชร์ตำแหน่งที่ขับขี่อยู่ ณ ปัจจุบันให้คนอื่นได้

โดยเทคโนโลยีเหล่านี้ สำหรับผู้ที่ใช้บริการของ Grab ในเทคโนโลยี Grab’s Safer Everyday ภายในแอปพลิเคชั่น

ตำรวจนำระบบ NB-IoT มาใช้ในรถมอเตอร์ไซค์ตำรวจ ช่วยในการปฏิบัติงานรูปแบบ Real Time

กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 ได้มีการนำนวัตกรรม IoT ในการปฏิบัติงานของกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 ในชื่อโซลูชั่น “NB-IoT Motor Tracker” ที่เชื่อมต่อการทำงานของยานพาหนะของเจ้าหน้าที่

โดยการนำอุปกรณ์ Tracker ที่ใช้งานผ่านเครือข่าย NB-IoT ติดตั้งที่รถมอเตอร์ไซค์ตำรวจ ซึ่งจะเป็นการส่งข้อมูลพิกัดรถมอเตอร์ไซค์ (GPS) และประมวลผลบนแอปพลิเคชั่น โดยจะแสดงตำแหน่งรถมอเตอร์ไซค์ที่กำลังวิ่งอยู่ไปที่ จอมอนิเตอร์ แบบ Near Real Time และสามารถแสดงพิกัดเส้นทางการปฏิบัติงานของตำรวจราจรแก่ศูนย์สั่งการ

เมื่อเกิดเหตุด่วนเหตุร้าย ศูนย์สั่งการจะสามารถมองเห็นตำแหน่งรถในพื้นที่ปัจจุบันและประสานให้ตำรวจสายตรวจ หรือ งานจราจรที่ใกล้เคียงที่สุดเดินทางไปช่วยเหลือ และระงับเหตุให้ได้ โดยมีการติดตั้งแล้วที่สถานีตำรวจในเขตนครบาล 1 จำนวน 9 สถานี จำนวน 360 คันและสายตรวจ

โดยข้อดีของระบบ NB-IoT มีอายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ได้นานถึง 10 ปี สามารถรองรับปริมาณอุปกรณ์ IoT ได้สูงสุดในระดับแสนตัวต่อสถานีฐาน และรัศมีครอบคลุมได้มากกว่า 10 ก.ม.แม้ในอาคาร ซึ่งระบบ NB-IoT Motor Tracker อยู่ในบนเครือข่าย AIS NB-IoT และประมวลผลบนแอปพลิเคชั่นบน …

เกษตรกรสามารถใช้ Big data สำหรับวิเคราะห์พื้นที่เพาะปลูก

อาชีพการเกษตรก็ยังมีความจำเป็นและเติบโตอยู่ จากขยายตัวร้อยละ 6.2 การขยายตัวของการเกษตรโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่วิเคราะห์และประมาณการภาวะเศรษฐกิจการเกษตรใน 2561 แต่ปัญหาของการทำเกษตรก็ยังคงมีให้เห็น อย่างเช่น อากาศ สภาพน้ำ หรือความเข้าใจของการปลูกพืช การนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มาช่วยเกษตรกรในการทำเกษตรกรรมนั้น คงทำให้เกษตรกรมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าในปัจจุบัน

บริการ “ฟาร์มแม่นยำ” สำหรับเกษตรกร เป็นบริการผ่านแอปพลิเคชั่นของ Farmer Info ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง dtac ที่มีเทคโนโลยีเครือข่าย  รีคัลท์ สตาร์ทอัพในโครงการของ dtac ที่วิเคราะห์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และ มูลนิธิรักบ้านเกิด ที่ส่งเสริมความพัฒนาแก่เกษตรกร

สำหรับ ฟาร์มแม่นยำ ได้นำเทคโนโลยี Big Data เข้ามาวิเคราะห์ผล โดยมี 3 ฟีเจอร์ที่สำคัญสำหรับเกษตรกร นั่นคือ การพยากรณ์อากาศเฉพาะเจาะจงพื้นที่ที่ต้องการได้ ทั้งอุณหภูมิ โอกาสการเกิดฝน ปริมาณฝนในพื้นที่ โดยสามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้า 7 วัน ฟีเจอร์ต่อมา สามารถเห็นภาพถ่ายพื้นที่เพาะปลูกของตนได้ผ่านทางดาวเทียม เพื่อช่วยหาความผิดปกติของพืชเพื่อให้สามารถแก้ไขได้ทันถ่วงที พร้อมกับฟีเจอร์ผู้ช่วยส่วนตัว ที่จะช่วยให้เกษตรกรวางแผนการเพาะปลูกในแต่ละรอบเก็บเกี่ยว นำเสนอเป็นภาพอินโฟกราฟฟิกที่เข้าใจง่าย และการให้ข้อมูลการเพาะปลูกในทุกขั้นตอน

สำหรับคนที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดได้ โดยดาวน์โหลดแอป …

Amazon เปิดคอร์สเรียนออนไลน์ฟรีด้าน AI มีใบรับรองให้ด้วย

Amazon นำหลักสูตร “Machine Learning ” ซึ่งก่อนนี้สอนแค่พนักงานแอมะซอนเท่านั้น มาเปิดกว้างให้คนทั่วไปเรียนออนไลน์ฟรี

ระบบสัมภาษณ์งานยุคใหม่ เปิดฉากให้ผู้สมัครแชทกับ AI ก่อน

องค์กรยุคดิจิตัล ใช้ chatbot สัมภาษณ์งานขั้นแรก ถามตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของผู้สมัคร รับมือใบสมัครงานได้มหาศาล …